คิดและเรย์
กล่าวว่า ความต้องการในการออกแบบการเรียนการสอน คือ ความจำเป็นเร่งด่วนทันทีทันใด
โดยยกตัวอย่างว่า นักออกแบบการเรียนการสอนจำนวน 12 คน ที่ทำงานเกี่ยวกับเตาปฏิกรณ์ปรมาณูในท้องถิ่นต้องมีปริญญาทางเทคโนโลยีการเรียนการสอนและต้องรับผิดชอบเพื่อที่จะให้เกิดความแน่ใจในคุณภาพของการเรียนการสอนทุกระดับ
(Disk and Cary 1985 : 8)
การประกาศรับสมัครในตำแหน่งดังกล่าวนี้
ได้จัดทำขึ้นโดยบริษัทคู่สัญญาหลังจากเกิดอุบัติเหตุทางนิวเคลียร์ขึ้นที่เกาะทรีไมล์และเชอร์โนบิล
(Three mile and Chermobyl) : ซึ่งแสดงให้เห็นความกดดันเกี่ยวกับคุณภาพการเรียนการสอนที่พบในหลายๆสถานณการณ์
วิธีการหนึ่งพิสูจน์ข้อผูกผันที่มีต่อคุณภาพการเรียนการสอนที่พบในหลายๆสถานการณ์
คือ การผ่านการรับรองในเรื่องของการพัฒนา และการเฝ้าระวังติดตามการเรียนการสอน
การออกแบบการเรียนการสอนเป็นการแก้ปัญหาคุณภาพ
การเรียนการสอนในสถานการณ์ต่างๆที่หลากหลาย
ในกรณีของเตาปฏิกรณ์ปรมาณู
(nuclear power plants) มีความต้องการที่ควบคุมการเรียนการสอนให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ทั้งทางด้านป้องกันและพยายามที่จะป้องกันอุบัติเหตุสถาบันปฏิบัติการพลังงานนิวเคลียร์และการอุตสาหกรรมใน
USA ได้ก่อตั้งองค์กรเพื่อจัดทำนโยบายของตนเองโดยมีมาตรฐานคำสั่งสำหรับโปรแกรมการฝึกอบรมมาตรฐานประกอบด้วยการใช้กระบวนการออกแบบการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน
สถาบันจะเป็นผู้ประเมินและรับรองการปฏิบัติทางปฏิกรณ์ปรมาณู
และรวมถึงองค์ประกอบของการฝึกอบรมในเรื่องดังกล่าวนี้ด้วย (Vandergrift,
1983)
งานของผู้ออกแบบการเรียนการสอนคือ
นำจุดประสงค์และการเรียงลำดับของจุดประสงค์ไปสู่กระบวนการวางแผนการเรียนการสอนเพื่อนที่จะให้เกิดความแน่ใจที่คุณภาพของการเรียนการสอน
วิธีการในลักษณะนี้จะแล้วเสร็จได้ด้วยการประยุกต์ใช้กระบวนการเชิงระบบ
และการใช้วิจัย และความรู้ทางทฤษฎีจากการออกแบบการเรียนการสอน และจากสาขาวิชาอื่น
ๆ เช่น วิศวกรรมศาสตร์
จิตวิทยา และศิลปะ (Vandergrift, 1983) ดังข้อสันนิษฐานของกาเย่ บริกส์ และเวเกอร์ (Gagne, Briggs, and Wager) ที่มีต่อการออกแบบการเรียนการสอนว่า
เป็นวิธีการหนึ่งที่เชื่อว่ามีความเป็นไปได้และคุ้มค่า โดยมีการออกแบบการเรียนการสอนต้องอาศัยคุณสมบัติที่เกี่ยวข้อง
ดังนี้คือ (1) มีจุดหมายที่จะช่วยการเรียนรู้ของปัจเจกบุคคล (2)
เป็นแผนระยะสั้นและระยะยาวที่จะให้ผลในการพัฒนามนุษย์ (3)
ควรดำเนินการด้วยวิธีการเชิงระบบที่สามารถให้ผลอันยิ่งใหญ่ต่อการพัฒนามนุษย์ และ (4)
ตั้งอยู่บนพื้นฐานของความรู้ว่ามนุษย์มีความเรียนรู้ได้อย่างไร (Gagne, Briggs, and Wager, 1992 : 4-5
ดังนั้นอาจสรุปได้ว่า
ความต้องการจำเป็นในการออกแบบการเรียนการสอน คือ
การแก้ปัญหาคุณภาพการเรียนการสอนในสถานการณ์ที่หลากหลาย
เพื่อให้การเรียนการสอนมีคุณภาพด้วยวิธีการเชิงระบบที่ให้ผลอันยิ่งใหญ่ต่อการพัฒนาปัจเจกบุคคล
และมนุษย์โดยทั่วไปและตั้งอยู่บนพื้นฐานของความรู้ว่ามนุษย์เรียนรู้ได้อย่างไร
ที่มา : ผู้ช่วยศาสตร์ตราจารย์ ดร.พิจิตรา ธงพานิช.
วิชาการออกแบบและการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน. นครปฐม :
โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น