วันจันทร์ที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

แบบจำลองการออกแบบการเรียนการสอนโดยทั่วไป



        ออกแบบการเรียนการสอนนำความรู้จากสาขาวิชามาประยุกต์เข้าด้วยกันเป็นขั้นตอนกระบวนการเชิงระบบเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน โดยพื้นฐานแล้ววิธีการเชิงระบบกำหนดให้ต้องระบุว่า จะเรียนอะไร วางแผนการสอนว่าจะยอมให้การเรียนรู้อะไรเกิดขึ้น วัดผลการเรียนรู้เพื่อตัดสินว่า การเรียนรู้นั้นบรรลุตามจุดประสงค์หรือไม่และกลั่นกรองตัวสอดแทรก (intervention) จนกระทั่งบรรลุจุดประสงค์ จากลักษณะนี้เองจึงทำให้เกิดแบบจำลองการออกแบบการเรียนการสอนทั่วไป (generic Instruction Design model : ID model) ขึ้น (Gibbons 1981 : 5, Hannum and hassan, 1989)

           แบบจำลองการออกแบบการเรียนการสอนทั่วไป มีความง่ายในการใช้มาก แจ่ต้องใช้ด้วยความประณีต และปรับปรุงอยู่เสมอ อย่างไรก็ตามแบบจำลองการออกแบบการเรียนการสอนโดยทั่วไปได้จัดเตรียมการแนะนำขั้นตอนในกระบวนการของการออกแบบไว้อย่างดี แบบจำลองในลักษณะนี้มีความหมายว่าการออกแบบการเรียนการสอนเป็นกระบวนการเชิงระบบที่ประกอบด้วยขั้นตอนทั่วไปเหล่านี้ คือ
1. การวิเคราะห์ (Analysis) ซึ่งเป็นกระบวนการของการระบุว่าอะไรคือสิ่งต้องเรียน
2. การออกแบบ(Design) ซึ่งเป็นกระบวนการของการระบุว่าจะเรียนอย่างไร
3. การพัฒนา (Development) เป็นกระบวนการของการจัดการและการผลิตวัสดุอุปกรณ์
4. การนำไปใช้ (Implementation) เป็นกระบวนการของการกำหนดโครงการในบริบทของโลกแห่งความเป็นจริง
5. การประเมินผล (Evaluation) เป็นกระบวนการของการตัดสินตกลงใจต่อความเพียงพอของการเรียนการสอน
           เกียวกับระบบการเรียนการสอนนี้ แฮนนัมและบริกส์ (Hannum and Briggs) ได้เปรียบเทียบการเรียนการสอนแบบดั้งเดิม และการเรียนการสอนเชิงระบบ ดังรายละเอียดในตารางที่ 1
           ในการออกแบบการเรียนการสอน กระบวนการมีความสำคัญพอๆ กับผลิต เพราะว่า ความเชื่อมั่นในผลิตผลจะขึ้นอยู่กับกระบวนการ ในการที่จะมีความเชื่อมั่นในผลิตผล ต้องดำเนินตามขั้นตอนของแบบจำลองการออกแบบการเรียนการสอน สำหรับในแต่ละขั้นตอนนั้น ลำดับขั้นตอนของแบบจำลองการออกแบบการเรียนการสอน สำหรับในแต่ละขั้นตอนนั้น ลำดับขั้นของภาระงานจะต้องแสดงออกมา และผลที่ได้รับที่มีความเฉพาะเป็นพิเศษก็จะเกิดขั้นดังรายละเอียดในตารางที่ 2                                                                                             

ตารางที่
 1 เปรียบเทียบการเรียนการสอนแบบดั้งเดิมกับการเรียนการสอนเชิงระบบ
องค์ประกอบของการเรียนการสอน
การเรียนการสอนแบบดั้งเดิม
การเรียนการสอนเชิงระบบ
1. กำหนดเป้าประสงค์(Setting goals)
ตำราหลักสูตรดั้งเดิมการอ้างอิงภานใน
*การประเมินความต้องการจำเป็น                               *การวิเคราะห์งาน                *การอ้างอิงภายนอก
2. จุดประสงค์(Objectives)
*กล่าวในรูปของผลที่ได้รับรวมๆหรือการปฎิบัติของครู                  *เหมือนกันสำหรับนักเรียนทุกคน
*จากการประเมินความต้องการจำเป็นการวิเคราะห์/การประเมินงาน
*เลือกด้วยการพิจารณาจาก
*ความสามารถของผู้เรียนเมื่อแรกเข้าเรียน
3. จุดประสงค์ในความรู้เฉพาะของผู้เรียน (Student’s knowledge of objectives)
ไม่ได้รับการบอกกล่าวล่วงหน้าต้องใช้สัญญาณจากการฟังคำบรรยายและการอ่านตำรา
*บอกกล่าวอย่างเฉพาะเจอะจงเป็นพิเศษล่วงหน้าก่อนเรียน
4. ความสามารถก่อนเข้าเรียน
*ไม่ต้องใส่ใจ นักเรียนทุกคนมีจุดประสงค์และวัสดุอุปกรณ์/กิจกรรมเหมือนกันหมด
*การพิจารณา                         *การกำหนดวัสดุอุปกรณ์/กิจกรรมแตกต่างกัน
5. ผลสัมฤทธิ์ที่คาดหวัง(Expected achievement)
*ใช้โค้งมาตรฐาน
*มีความเป็นแบบอย่างเดียวกันสูง
6. ความรอบรู้ (Masstery)
*นักเรียนส่วนน้อยรอบรู้จัดประสงค์ทั้งหมด
*รูปแบบผิดพลาด
*นักเรียนส่วนใหญ่รอบรู้จุดประสงค์ทั้งหมด
7. ค่าระดับและการเลื่อนระดับ(Grading and promotion)
*อยู่บนพื้นฐานการเปรียบเทียบกับนักเรียนคนอื่นๆ
*อยู่บนพื้นฐานการรอบรู้จุดประสงค์
8. การสอนเสริม(Remediation)
*บ่อยครั้งที่ไม่มีการวางแผน
*ไม่มีการเปลี่ยนแปลงจุดประสงค์หรือวิธีการสอน
*วางแผนสำหรับนักเรียนที่ต้องการความช่วยเหลือปสวกหาจุดประสงค์อื่น
9. การใช้แบบทดสอบ
*กำหนดค่าระดับ
*เฝ้าระวังติดตามความก้าวหน้าของผู้เรียน                           *ตัดสินความรอบรู้                   *วินิจฉัยความยากลำบาก                            *ปรับปรุงการเรียนการสอน
10. เวลาศึกษากับความรู้(Stidy time vs mastery)
*เวลาคงที่ : ระดับของความรอบรู้หลากหลาย แตกต่างกัน
*ความรอบรู้คงที่ : เลาหลากหลายแตกต่างกัน
11. การตีความของความล้มเหลวที่จะไปให้ถึงความรู้(Interprettion of failure to reach mastery)
*นักเรียนผู้สงสาร
*มีความต้องการจำเป็นที่จะต้องปรับปรุงการเรียนการสอน
12. การพัฒนารายวิชา(Course of development)
*เลือกวัสดุอุปกรณ์ก่อน
*ระบุจุดประสงค์ก่อนแล้ว
13. ลำดับขั้นตอน(Sequence)
*อยู่บนพื้นฐานของเหตุผลและสังเขปหัวเรื่อง
*อยู่บนพื้นฐานของสิ่งที่ต้องรู้ก่อนตามความจำเป็น และหลักการของการเรียนรู้
14. การปรับปรุงการเรียนการสอนและวัสดุอุปกรณ์(Revision of instructional and materials)
*อยู่บนพื้นฐานของการคาดเดางานหรือความเพียงพอของ
*วัสดุอุปกรณ์ใหม่
*เกิดขึ้นเป็นพัก
*อยู่บนพื้นฐานของการประเมินข้อมูล                                     *เกิดขึ้นเป็นประจำ
15. กลยุทธ์การเรียนการสอน(Instructional Strategies)
*พอใจให้ผ่านได้อย่างกว้างๆ
*อยู่บนพื้นฐานของความชอบและความคล้ายครึง
*เลือกที่จะได้รับตามจุดประสงค์  *ใช่ยุทธวิธีที่หลากหลาย            *อยู่บนพื้นฐานของทฤษฎีและการวิจัย
16. การประเมินผล(Evaluation)
*บ่อยครั้งที่ไม่เกิดขึ้น : กสรวางแผนเชิงระบบมีน้อย
*ประเมินแบบอิงกลุ่ม ข้อมูลได้จากปัจจัยนำเข้าและกระบวนการ
*การวางแผนเป็นระบบ : เกิดขึ้นประจำ
*ประเมินความรอบรู้ตามจุดประสงค์
*ประเมินผลอิงเกณฑ์ข้อมูลได้จากผลที่ได้รับ (ผลผลิต)
 ที่มา : W.H. Hannum and leslir j. Briggs, “How dose Instructional Systems Design Differ from rraditional,” Educational Technology 22 : 12-13 } 1982

ตารางที่ 2 งานและผลผลิตของกระบวนการออกแบบการเรียนการสอน
ขั้นตอนและภาระงาน
ตัวอย่างภาระงาน
ตัวอย่างผลผลิต
การวิเคราะห์-กระบวนของการนิยามว่าต้องเรียนอะไร
*ประเมินความต้องการจำเป็น     *ระบุปัญหา                          *วิเคราะห์งาน
*แฟ้มผู้เรียน                             *การพรรณนาข้อจำกัด                *คำกล่าวของความต้องการจำเป็นและปัญหา                          *การวิเคราะห์ภาระงาน
การพัฒนา-กระบวนการของการชี้เฉพาะว่าจะเรียนอะไร
*เขียนจุดประสงค์                   *พัฒนารายการของแบบทดสอบ  *วางแผนการเรียนการสอน          *ระบุแหล่งทรัพยากร
*จุดประสงค์ที่วัดได้กลยุทธ์การเรียนการสอน                               *ลักษณะเฉพาะของตัวแบบ(Prototype specification)
การพัฒนา-กระบวนการของหน้าที่และผลิตวัสดุอุปกรณ์
*ทำงานกับผู้ผลิต                    *พัฒนาคู่มือ แผนภูมิ โปรแกรม
*สตอรี่บอร์ด (Story board)                           *สคริป                                  *แบบฝึกหัด                           *คอมพิวเตอร์ช่วยการเรียนการสอน
การนำไปใช้-กระบวนการของการก่อตั้งโครงการในบริษัทแห่งโลกแห่งความเป็นจริง
*การฝึกอบรมครู                 *การทดลอง
*การให้ความเห็นของนักเรียนข้อมูล
การประเมินผล-กระบวนการของการตกลงใจเกี่ยวกับความคิดเห็นผลของการเรียนการสอน
*บันทึกข้อมูลเกี่ยวกับเวลา           *ผลการแปลความแบบทดสอบ    *สำรวจผู้สำเร็จการศึกษา          *ทบทวนกิจกรรม
*คำรับรอง(recommentdation)
*รายงานโครงงาน
*ทบทวนตัวแบบ
 ที่มา : Barbara Seels, and Zita Glasgow, Exercises in instructional Design (Columbus, Ohio) Merrill Publoshing Company, 1990), p. 8.  



ที่มา : ผู้ช่วยศาสตร์ตราจารย์ ดร.พิจิตรา ธงพานิช. วิชาการออกแบบและการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน. นครปฐม : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร.



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น