ทฤษฎีการเรียนรู้ของนักการศึกษาที่นำมาใช้พัฒนาด้านการเรียนการสอน
1. ทฤษฎีการเชื่อมโยงของธอร์นไดค์ (Thorndike’s
Connected Theory)
ธอร์นไดค์ (Thorndike) นักจิตวิทยาชาวอเมริกันกลุ่มพฤติกรรมนิยมเป็นผู้นำทฤษฎีหลักการเรียนรู้ซึ่งกล่าวถึงการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้า
(stimulus) กับการตอบสนอง (response) โดยมีหลักเบื้องต้นว่าการเรียนรู้เกิดจากการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนองโดยแสดงในรูปแบบต่างๆจนกว่าจะเป็นที่พอใจที่เหมาะสมที่สุดซึ่งเรียกว่าการลองผิดลองถูก
(trial and error) ดังนั้นธอร์นไดค์เชื่อว่าการเรียนรู้เกิดจากการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนองซึ่งสามารถแสดงออกด้วยพฤติกรรมต่างๆกัน
2. ทฤษฎีและแนวคิดของกลุ่มเกสตัลท์ (Gestalt) ค.ศ. 1912
เกสตัสท์ (Gestalt) หมายถึงรูปหรือแบบแผน (form or pattern) ต่อมาได้แปลว่าส่วนรวม(whole)
เพื่อให้สอดคล้องกับแนวคิดของทฤษฎีการเรียนรู้ของกลุ่มนี้ที่กล่าวว่าส่วนรวมมีค่ามากกว่าผลบวกของส่วนย่อย
(The whole is greater than the sum of the parts)
หลักการเรียนรู้ของทฤษฎีเกสตัลท์นี้จะเน้นการเรียนรู้ที่ส่วนรวมมากกว่าส่วนย่อยซึ่งจะเกิดจากประสบการณ์และการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นจาก
2 ลักษณะคือ
1. การรับรู้ (perception)
การรับรู้เป็นการแปลความหมายจากการสัมผัสด้วยอวัยวะรับสัมผัสทั้ง 5 ส่วน
2. การเรียนรู้จากการหยั่งเห็น (Insight)
การเรียนรู้จากการหยั่งเห็น (ผลุดรู้) เป็นการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นจากการพิจารณาปัญหาในภาพรวมและการใช้กระบวนการทางความคิดเชื่อมโยงประสบการณ์เดิมกับปัญหาที่เผชิญอยู่
ดังนั้น นักจิตวิทยากลุ่มนี้ เชื่อว่า การเรียนรู้และความคิดของบุคคล
เกิดจากการรับรู้สิ่งเร้า
เกิดจากการจัดประสบการณ์ทั้งหลายที่อยู่อย่างกระจัดกระจาย ในลักษณะภาพรวมก่อน
แล้วจึงค่อยๆพิจารณารายละเอียดส่วนย่อย โดยการเปรียบเทียบ การจัดกลุ่ม
หรือด้วยวิธีอื่นๆ ต่อไป
3. ทฤษฎีและแนวคิดในการกำหนดจุดมุ่งหมายทางการศึกษาของบลูมค.ศ.
1961
บลูม (Bloom,
1964) ได้จำแนกจุดมุ่งหมายทางการศึกษาออกเป็นด้าน ดังนี้
1. การรู้ (cognitive)
1. ความรู้ (knowledge)
1.1 ความรู้เฉพาะสิ่ง (knowledge of specifies)
1.1.1 ความรู้ศัพท์เฉพาะ (knowledge of
terminology)
1.1.2 ความรู้ข้อเท็จจริงเฉพาะสิ่ง (knowledge
of specific facts)
1.2 ความรู้เรื่องวิธีทางและวิธีการจัดการทำกับสิ่งเฉพาะ
(knowledge of ways and meansof dealing with specifics)
1.2.1 ความรู้เรื่องแบบแผนนิยม (knowledge of
convertions)
1.2.2 ความรู้เรื่องแนวโน้มและลำดับเหตุการณ์ (knowledge
of tend and sequence)
1.2.3 ความรู้เรื่องการจัดจำพวกและประเภท (knowledge
of classifications ofcategories)
1.2.4 ความรู้เรื่องเกณฑ์ (knowledge of
criteria)
1.2.5 ความรู้เรื่องระเบียบวิธี (knowledge of
methodology)
1.3 ความรู้เรื่องสากลและเรื่องนามธรรมในสาขาต่างๆ (knowledge
of the universals andabstraction field)
1.3.1 ความรู้เรื่องหลักการและข้อสรุปทั่วไป (knowledge
of principles andgeneralizations)
1.3.2 ความรู้เรื่องทฤษฎีและโครงสร้าง (knowledge
of theories and structures)
2. ความเข้าใจ (comprehension)
2.1 การแปล (translation)
2.2 การตีความ (interpretation)
2.3 การสรุปอ้างอิง (extrapolation)
3. การประยุกต์ (application)
3.1 การประยุกต์ (application)
4. การวิเคราะห์ (analysis)
4.1 การวิเคราะห์หน่วยย่อย (analysis of
elements)
4.2 การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ (analysis of
relationship)
4.3 การวิเคราะห์หลักการจัดระเบียบ (analysis
of organization principles)
5. การสังเคราะห์ (synthesis)
5.1 ผลิตผลจากการสื่อความหมายเฉพาะ (production
of unique communication)
5.2 ผลิตผลแผนงานหรือชุดเสนอเพื่อปฏิบัติการ (production
of a plan, or proposed setof operations)
5.3 การได้มาซึ่งชุดของความสัมพันธ์เชิงนามธรรม (derivation
of a set of abstractrelations)
6. การประเมิน (evaluation)
6.1 การตัดสินตามเกณฑ์ภายใน (judgements in
terms of internal criteria)
6.2 การตัดสินตามเกณฑ์ภายนอก (judgements in
terms of external criteria)
4. รูปแบบการคิดแก้ปัญหาอนาคตของทอแรนซ์ (Torrance’s
Future Problem Solving Model) ค.ศ 1962
ทอแรนซ์ได้ใช้แนวคิดแบบเอนกนัย (divergent thinking) มาเสนอเป็นองค์ประกอบของความคิดสร้างสรรค์
3 องค์ประกอบดังต่อไปนี้
1 . ความคล่องแคล่วในการคิด (fluency)
หมายถึง ความสามารถของบุคคลในการคิดหาคำตอบได้อย่างคล่องแคล่วรวดเร็วและสามารถสร้างคำตอบได้ในปริมาณมากในเวลาที่จำกัด
2. ความยึดหยุ่นในการคิด (flexibility)
หมายถึง ความสามารถของบุคคลในการคิดหาคำตอบได้หลายประเภทหลายทิศทางหลายรูปแบบ
3. ความคิดริเริ่ม (originality)
หมายถึง ลักษณะของความคิดแปลกใหม่แตกต่างจากความคิดธรรมดาและไม่ซ้ำกับความคิดที่มีอยู่ทั่วไป
จากการคิดค้นทฤษฎีความคิดสร้างสรรค์ขึ้นทอแรนซ์ได้นำทฤษฎีนี้มาเป็นพื้นฐานในการสร้างรูปแบบการคิดแก้ปัญหาอนาคตในปีค.ศ.
1974
กรอบแนวคิดของรูปแบบการคิดแก้ปัญหาอนาคตตามแนวคิดดังกล่าวได้ถูกนำมาใช้ในการสร้างรูปแบบการคิดเพื่อแก้ปัญหาอนาคต
5. รูปแบบการเรียนรู้อย่างมีความหมายของออซูเบลค.ศ. 1963
ออซูเบลเชื่อว่าจุดประสงค์ขั้นแรกที่จำเป็นในการสอนนั้นเพื่อจะนำเสนอเนื้อหาหรือเรื่องราวอย่างเป็นระบบโดยทำให้ข้อมูลนั้นมีลักษณะที่มีขอบข่ายสัมพันธ์ต่อเนื่องกันและแสดงให้ทั้งผู้สอนและผู้เรียนเห็นได้อย่างแจ่มชัดซึ่งออซูเบลได้เสนอแนะให้ใช้วิธีสอนแบบชี้แนะให้ค้นพบซึ่งอยู่กึ่งกลางระหว่างวิธีสอนแบบค้นพบด้วยตนเองของบรูนเนอร์และวิธีสอนอย่างมีความหมายซึ่งเขาได้เสนอไว้ออซูเบลได้ให้เหตุผลว่าวิธีการสอนแบบชี้แนะให้ค้นพบนั้นจะช่วยให้ผู้เรียนเรียนได้อย่างฉับไวเมื่อมีโอกาสได้ลงมือปฏิบัติจัดกระทำกับข้อมูลโดยการชี้แนะของครูนอกจากนั้นผู้เรียนยังมีโอกาสคิดแก้ปัญหาด้วยตนเองโดยผนวกเข้ากับความรู้และประสบการณ์เดิมที่มีอยู่แล้ววิธีการสอนที่ออกซูเบลเสนอไว้มี
2 วิธี (กิ่งฟ้าสินธุวงศ์, 2537)
1. การแยกความแตกต่างให้แจ่มชัด
การแยกความแตกต่างให้แจ่มชัดสามารถดำเนินการเป็นขั้นตอนตั้งแต่ 1) นำเสนอข้อมูลที่เป็นนามธรรมให้มีใจความครอบคลุมเรื่องที่จะสอนและเกี่ยวข้องกับเรื่องที่ผู้เรียนเคยเรียนมาแล้ว,
2) เปิดโอกาสให้ผู้เรียนทำความเข้าใจกับข้อมูลในข้อแรกจนได้เป็นความคิดรวบยอดเก็บไว้ในโครงสร้างของความรู้,
3)นำเสนอข้อมูลที่เป็นนามธรรมให้มีลักษณะเป็นรูปธรรมมากขึ้นซึ่งอาจจะทำได้โดยการเปรียบเทียบให้เห็นความแตกต่าง,
4) สอนเรื่องที่เป็นรูปธรรมมากขึ้นและมีใจความละเอียดมากขึ้นจนถึงระดับที่ต้องการให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้อย่างมีความหมาย
2. การใช้บทสรุปล่วงหน้า (advance organizer)
การใช้บทสรุปล่วงหน้าสามารถเริ่มโดย 1) ให้นักเรียนได้รับความรู้ซึ่งเป็นข้อความทั่วไปของเนื้อเรื่องที่จะสอนก่อนที่จะเรียนเรื่องนั้น,
2) ข้อความทั่วไปนั้นอาจเป็นหลักการหรือมโนมติที่สำคัญๆซึ่งสามารถนำไปเชื่อมโยงกับความรู้เดิมของนักเรียนได้บ้างไม่มากก็น้อยเรียนว่าบทสรุปล่วงหน้าซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น
2แบบคือ 1) บทสรุปล่วงหน้าที่เกี่ยวกับความรู้เดิมและ
2) บทสรุปล่วงหน้าที่จะต้องเรียนรู้ใหม่ซึ่งบทสรุปล่วงหน้าดังกล่าวนั้นไม่เพียงแต่จะเป็นหลักการหรือมโนมติเท่านั้นยังต้องมีวัสดุอุปกรณ์ซึ่งจะช่วยในการนำเสนอบทสรุปนั้นๆด้วยซึ่งได้แก่ข้อความที่ตัดตอนมาบทคัดย่อการสาธิตการฉายภาพนิ่ง/ภาพยนตร์บทสนทนาหรือเรื่องเล่าต่างๆเป็นต้น
6. ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจต์ (Piaget)
ค.ศ 1964
การพัฒนาการทางสติปัญญานั้นเพียเจต์ได้แบ่งกระบวนการทางสติปัญญา (cognitive process)ออกเป็น
4 ขั้น ดังต่อไปนี้
1. ระยะใช้ประสาทสัมผัส (sensory-motor stage)
ระยะใช้ประสาทสัมผัสเป็นการพัฒนาของเด็กตั้งแต่แรกเกิดจนถึงอายุ 2 ปีในวัยนี้เด็กจะเริ่มพัฒนาการรับรู้โดยใช้ประสาทสัมผัสต่างๆเช่นตาหูมือและเท้าตลอดจนเริ่มมีการพัฒนาการใช้อวัยวะต่างๆได้เช่นการฝึกหยิบจับสิ่งของต่างๆฝึกการได้ยินและการมอง
2. ระยะควบคุมอวัยวะต่างๆ (pre-operational
stage)
ระยะควบคุมอวัยวะต่างๆเป็นการพัฒนาของเด็กตั้งแต่อายุ 2 ปีจนถึง 7 ปีเด็กวัยนี้จะเริ่มพัฒนาอย่างเป็นระบบมากขึ้นมีการพัฒนาของสมองที่ใช้ควบคุมการพัฒนาลักษณะนิสัยและการทำงานของอวัยวะต่างๆเช่นนิสัยการขับถ่ายนอกจากนั้นยังมีการฝึกใช้อวัยวะต่างๆให้มีความสัมพันธ์กันภายใต้การควบคุมของสมองเช่นการเล่นกีฬา
3. ระยะที่คิดอย่างเป็นรูปธรรม (concrete operation
stage)
ระยะที่คิดอย่างเป็นรูปธรรมเริ่มตั้งแต่เด็กอายุ 7 ปีถึง 11 ปีเด็กช่วงนี้จะมีการพัฒนาการสมองมากขึ้นสามารถเรียนรู้และจำแนกสิ่งต่างๆที่เป็นรูปธรรมได้แต่จะยังไม่สามารถจินตนาการกับเรื่องที่เป็นนามธรรมได้
4. ระยะที่คิดอย่างเป็นนามธรรม (formal operation
stage)
ระยะที่คิดอย่างเป็นนามธรรมจะเป็นการพัฒนาช่วงสุดท้ายของเด็กมีอายุในช่วง
12-15
ปีเด็กในช่วงนี้จะมีพัฒนาการที่เต็มที่แล้วจะสามารถคิดอย่างเป็นเหตุเป็นผลและแก้ปัญหาได้อย่างดีจนพร้อมที่จะเป็นผู้ใหญ่ที่มีวุฒิภาวะได้
การพัฒนาของเด็กในแต่ละระยะจะเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องจากระดับที่ต่ำกว่าไปสู่อีกระดับที่สูงขึ้นโดยไม่มีการกระโดดข้ามขั้นแต่บางช่วงของการพัฒนาอาจเกิดขึ้นเร็วหรือช้าก็ได้การพัฒนาการเหล่านี้จะเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติแต่สิ่งแวดล้อมวัฒนธรรมและประเพณีต่างๆรวมทั้งวิธีการดำรงชีวิตอาจมีส่วนช่วยให้เด็กเกิดการพัฒนาการที่แตกต่างกัน
7. ทฤษฎีและแนวคิดของเจโรมบรุนเนอร์ (Jerome
Bruner) ค.ศ. 1965
บรุนเนอร์เป็นนักจิตวิทยาการศึกษาชาวอเมริกันได้เสนอแนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้โดยเชื่อว่าเด็กทุกระดับชั้นของการพัฒนาสามารถเรียนรู้เนื้อกาวิชาใดก็ได้ถ้าจัดการสอนให้เหมาะสมกับความสามารถของเด็กการเรียนรู้ตามแนวคิดของบรุนเนอร์แบ่งเป็น
3 ขั้น
1. การเรียนรู้ด้วยการกระทำ (Enactive
representation)
การเรียนรู้ด้วยการกระทำเป็นขั้นการเรียนรู้ที่เกิดจากประสาทสัมผัส
2. การเรียนรู้ด้วยการลองดูและจินตนาการ
(Iconic representation)
การเรียนรู้ด้วยการลองดูและจินตนาการเป็นขั้นที่เด็กเรียนรู้ในการมองเห็นและการใช้ประสาทสัมผัสต่างๆ
3. การเรียนรู้โดยการใช้สัญลักษณ์
(Symbolic Representaion)
การเรียนรู้โดยใช้สัญลักษณ์เป็นขั้นการเรียนรู้ที่เด็กสามารถเข้าใจการเรียนรู้สิ่งที่เป็นนามธรรมต่างๆได้เป็นขั้นการเรียนรู้ขั้นที่สูงสุดของการพัฒนาทางด้านความรู้ความเข้าใจซึ่งเด็กสามารถคิดหาเหตุผลและในที่สุดก็จะเข้าใจสิ่งที่เป็นนามธรรมได้
ดังนั้นแนวคิดของบรุนเนอร์เชื่อว่าเด็กเริ่มต้นเรียนรู้จากการกระทำเพื่อให้สามารถจินตนาการสร้างภาพในใจหรือสร้างความคิดขึ้นได้เองแล้วจึงค่อยพัฒนาถึงขั้นการคิดและเข้าใจในสิ่งที่เป็นนามธรรมมากขึ้น
8. ทฤษฎีเงื่อนไขการเรียนรู้ของกานเย (Gagne’)
ค.ศ. 1965
ทฤษฎีของกานเยมี 2 ส่วนใหญ่ๆคือ 1) ทฤษฎีการเรียนรู้ซึ่งอธิบายการเกิดการเรียนรู้และ
2)
ทฤษฎีการจัดการเรียนการสอนซึ่งเป็นการประยุกต์ความรู้เกี่ยวกับการเรียนรู้มาใช้ให้เป็นประโยชน์ในการส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
จากแนวคิดของกานเย สรุปได้ว่า ผลการเรียนรู้ของมนุษย์แบ่งได้ เป็น 5 ประเภทคือ 1)
ทักษะทางปัญญา ซึ่งประกอบด้วยทักษะย่อย 4 ระดับคือ
การจำแนกแยกแยะ การสร้างคามคิดรวบยอด การสร้างกฎ การสร้างกระบวนการหรือกฎชั้นสูง,
2) กลวิธีในการเรียนรู้ ซึ่งประกอบด้วย กลวิธีการใส่ใจ
การรับและทำความเข้าใจข้อมูล การดึงความรู้จากความทรงจำ การแก้ปัญหา
และกลวิธีการคิด 3) ภาษา,4) ทักษะการเคลื่อนไหว,
5) เจตคติ
9. รูปแบบโครงสร้างทางสติปัญญาของกิลฟอร์ด (Guilford’s
Structure of Intellect Model) ค.ศ. 1967
Guilford (1967: 218-237) เป็นนักจิตวิทยาในกลุ่มจิตมิติ
(psychometric) ซึ่งมีความเชื่อว่าความสามารถทางสมองสามารถปรากฎได้จากการปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดให้
ในลักษณะของความสามารถด้านต่างๆ ที่เรียกว่าองค์ประกอบ
และสามารถตรวจสอบความสามารถนี้ด้วยแบบสอบที่เป็นมาตรฐาน Guilfordได้เสนอโครงสร้างทางสติปัญญา
โดยอธิบายว่าความสามารถทางสมองของมนุษย์ประกอบด้วยสามมิติ (threedimensional
model) ได้แก่ มิติด้านเนื้อหา (contents) มิติด้านปฏิบัติการ
(operations) และมิติด้านผลผลิต(product) ซึ่งมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
1. มิติด้านเนื้อหา (contents) หมายถึง
วัตถุหรือข้อมูลต่างๆ ที่รับรู้ใช้เป็นสื่อก่อให้เกิดความคิดเนื้อหาแบ่งออกเป็น 5
ชนิด ดังนี้
1.1 เนื้อหาที่เป็นรูปภาพ (figural content) ได้แก่ วัตถุที่เป็นรูปธรรมต่างๆซึ่งสามารถรับรู้ได้ด้วยประสาทสัมผัส
1.2 เนื้อหาที่เป็นเสียง (auditory) ได้แก่ สิ่งที่อยู่ในรูปของเสียงที่มีความหมาย
1.3 เนื้อหาที่เป็นสัญลักษณ์ (symbolic
content) ได้แก่ ตัวเลข ตัวอักษร และสัญลักษณ์ที่สร้างขึ้น เช่น
พยัญชนะ ระบบจำนวน
1.4 เนื้อหาที่เป็นภาษา (semantic content) ได้แก่ สิ่งที่อยู่ในรูปของภาษา ที่มีความหมายหรือความคิดที่เข้าใจกันโดยทั่วไป
1.5 เนื้อหาที่เป็นพฤติกรรม (behavior content)
ได้แก่ สิ่งที่ไม่ใช้ถ้อยคำ แต่เป็นการแสดงออกของมนุษย์ เจตคติ
ความต้องการ รวมถึงปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคล บางครั้งเรียกว่า สติปัญญาทางสังคม (social
intelligence)
2. มิติด้านปฏิบัติการ (operations) หมายถึง กระบวนการคิดต่างๆ ที่สร้างขึ้นมา ซึ่งประกอบด้วยความสามารถ 5
ชนิดดังนี้
2.1 การรับรู้และการเข้าใจ (cognition) เป็นความสามารถทางสติปัญญาของมนุษย์ในการรับรู้และทำความเข้าใจ
2.2 การจำ (memory) เป็นความสามารถทางสติปัญญาของมนุษย์ในการสะสมเรื่องราวหรือข่าวสาร
และสามารถระลึกได้เมื่อเวลาผ่านไป
2.3 การคิดแบบอเนกนัย (divergent thinking) เป็นความสามารถในการตอบสนองต่อสิ่งเร้า และแสดงออกมาได้หลายๆแบบ หลายวิธี
2.4 การคิดแบบเอกนัย (convergent thinking) เป็นความสามารถในการสรุปข้อมูลที่ดีที่สุด
และถูกต้องที่สุดจากข้อมูลหลากหลายที่มีอยู่
2.5 การประเมินค่า (evaluation) เป็นความสามารถทางสติปัญญาในการตัดสินสิ่งที่รับรู้จำได้
หรือกระบวนการคิดนั้นมีคุณค่า ความถูกต้อง ความเหมาะสม
หรือมีความเพียงพอหรือไม่อย่างไร
3. มิติด้านผลผลิต (product) หมายถึง
ความสามารถที่เกิดขึ้นจากการผสมผสานมิติด้านเนื้อหา
และด้านปฏิบัติการเข้าด้วนกันเป็นผลผลิต เมื่อสมองรับรู้วัตถุ/ข้อมูล
ทำให้เกิดการคิดในรูปแบบต่างๆกัน ซึ่งสามารถให้ผลออกต่างๆกัน 6 ชนิดดังนี้
3.1 หน่วย (unit) เป็นสิ่งที่มีคุณสมบัติเฉพาะตัว
และมีความแตกต่างจากสิ่งอื่น
3.2 จำพวก (classes) เป็นกลุ่มของสิ่งต่างๆ
ซึ่งมีคุณสมบัติบางประการร่วมกัน
3.3 ความสัมพันธ์ (relations) เป็นการเชื่อมโยง
2 สิ่งเข้าด้วยกัน เช่น เชื่อมโยงลูกโซ่เชื่อมโยงคำ
เชื่อมโยงความหมาย
3.4 ระบบ (system) เป็นแบบแผนหรือรูปแบบจากการเชื่อมโยงสิ่งหลายๆสิ่งเข้าด้วยกัน
3.5 การประยุกต์ (transformation) เป็นการเปลี่ยนแปลงการหมุนกลับ
การขยายความข้อมูลจากสภาพหนึ่งไปยังอีกสภาพหนึ่ง
3.6 การประยุกต์ (implication) เป็นผลการคิดที่คาดหวัง
หรือการทำนายจากข้อมูลที่กำหนดให้
ดังนั้น แนวคิดของกิลฟอร์ด เชื่อว่า
ความสามารถทางสมองของมนุษย์ประกอบด้วย 3 มิติคือ 1)มิติด้านเนื้อหา
หมายถึง วัตถุ/ข้อมูล ที่ใช้เป็นสื่อก่อให้เกิดความคิด ซึ่งมีหลายรูปแบบ เช่น
อาจเป็นภาพเสียง สัญลักษณ์ ภาษา และพฤติกรรม, 2) มิติด้านปฏิบัติการ
หมายถึง การะบวนการต่างๆ ที่บุคคลใช้ในการคิด ซึ่งได้แก่ การรับรู้ และเข้าใจ (cognition)
การจำ การคิดแบบเอนกนัย และการประเมินค่า
10. แนวคิดการสอนคิดโดยการสอนปรัชญา (Teaching
Philosophy) ของ Matthew Lipman ค.ศ. 1981
Lipman และคณะ (1980) ได้นำเสนอแนวการพัฒนาความสามารถในการสอนคิดผ่านทางการสอนปรัชญา
โดยอธิบายว่า ปรัชญา คือ การคิดเกี่ยวกับความคิด
และการคิดดังกล่าวเป็นการแสวงหาความรู้ความเข้าใจทางปัญญา (cognitive inquiry)
บุคคลสำคัญที่เป็นต้นแบบแห่งการทำความเข้าใจถึงการคิดเกี่ยวกับการคิด
ซึ่งช่วยให้คนเราสามารถพัฒนาความสามารถในการคิด และนำไปสู่ความสามารถในการเรียนรู้
คือ โสเครติส (Socrates)
จากพื้นฐานทางการสอนปรัชญาตามแนวทางของโสเครติส สิปแมน
ได้สรุปเป็นหลักการ 4 ข้อ คือ
1. ความคิดรวบยอดสำคัญต่าง ๆ ควรนำมาปฏิบัติจริงได้
และการปฏิบัติดังกล่าวควรมีการจัดลำดับอย่างเหมาะสม
2. การแสดงหาความรู้ความเข้าใจทางความคิด
ควรเริ่มต้นจากความสนใจของผู้เรียน
3. วิธีที่ดีที่สุดวิธีหนึ่งในการกระตุ้นให้ผู้คนคิด
คือ การดึงให้เขาเข้ามาร่วมในการสนทนนั้น
4. การคิดเป็นเลิศ คือ การคิดเชิงตรรกะ ที่อยู่บนพื้นฐานของประสบการณ์
ดังนั้น โปรแกรมการสอนทักษะ
การคิดจึงควรเน้นการใช้เหตุผลทั้งที่เป็นทางการและสร้างสรรค์
กล่าวโดยสรุปแล้ว ลิปแมน มีความเชื่อว่า
แนวคิดเชิงปรัชญาสามารถช่วยเตรียมให้เด็กฝึกฝนในด้านการคิด
ซึ่งความคิดในเชิงปรัชญานั้นเป็นสิ่งที่ขาดแคลนมากในปัจจุบัน
ดังนั้นการสร้างในชุมชน เป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ (community of inquiry) ที่ผู้คนสามารถร่วมสนทนากัน เพื่อแสวงหาความความเข้าใจทางการคิด
จึงควรสนับสนุนในการเรียนการสอนทางด้านปรัชญา
11. ทฤษฎีการประมวลผลของคลอสไมเออร์ (Klausmer)
ค.ศ. 1985
คลอสไมเออร์ ได้อธิบายกระบวนการคิดโดยใช้ทฤษฎีการประมวลผลข้อมูล(informationprocessing) ว่า การคิดมีลักษณะเหมือนการทำงานของคอมพิวเตอร์ คือ มีการส่งข้อมูล,เข้าไป (input) ผ่านตัวปฏิบัติการ (processor)
แล้วจึงส่งผลการประมวลออกมา (output) กระบวนการคิดของมนุษย์มีการรับข้อมูล
มีการจัดกระทำและแปลงข้อมูลที่รับมา มีการเก็บรักษาข้อมูล
และมีการนำข้อมูลออกมาใช้อย่างเหมาะสมกับสถานการณ์
กระบวนการเกิดขึ้นในสมองไม่สามารถสังเกตได้โดยตรง แต่สามารถศึกษาได้จากการอ้างอิง
หรือการคาดคะเนกระบวรการนั้น
12. ทฤษฎีสติปัญญาสามศรของสเติร์นเบอร์ก (A
Triarchich Theory of Human Intelligence) ค.ศ.1985
Sternberg (1985) ได้เสนอแนวความคิดเกี่ยวกับสติปัญญา
โดยใช้ชื่อทฤษฎีของแท่ง ทฤษฎีสามศร(Triachich Theory) ทฤษฎีสามศร
เสนอว่า ส่วนประกอบของสติปัญญามี 3 ส่วน
ซึ่งสามารถอธิบายเป็นทฤษฎีย่อย 3 ทฤษฎีดังนี้
ทฤษฎีย่อยด้านกระบวนการคิด (componential subtheory)
ทฤษฎีย่อยด้านกระบวนการคิด
เป็นความสามารถทางสติปัญญาที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการคิด
ซึ่งครอบคลุมถึงส่วนที่เป็นกระบวนการปรับเปลี่ยนความคิด
ซึ่งเป็นกระบวนการประมวลความรู้ คิด และประเมินผล
ส่วนที่เป็นการปฏิบัติงานตามที่คิดไว้ และส่วนที่แสวงหาความรู้ให้ได้ความรู้ใหม่
เปรียบเทียบกับความรู้เดิม เพื่อให้ได้ความรู้ใหม่ที่เหมาะสมเข้ามาไว้ในระบบความจำ
ทฤษฎีย่อยด้านประสบการณ์ (experiential subtheory)
ทฤษฎีย่อยด้านประสบการณ์
เป็นการพิจารณาถึงผลของประสบการณ์ที่มีต่อความสามารถทางปัญญาจึงเกี่ยวข้องกับความสามารถในการแก้ปัญหาที่แปลกใหม่
และความคล่องในการประมวลผลข้อมูลที่มี รวมทั้งความสามารถที่จะเชื่อมโยงความสามารถทั้งสองอย่างเพื่อเพิ่มพูนทักษะการแก้ปัญหาได้ดีขึ้น
ทฤษฎีย่อยด้านบริบทสังคม (contextual subtheory)
ทฤษฎีย่อยด้านบริบทสังคม
เป็นความสามารถทางสติปัญญาที่เกี่ยวข้องกับบริบททางสังคม และวัฒนธรรมของบุคคล
การกระทำที่แสดงถึงความเฉลียวฉลาดของสติปัญญา
ในบริบทของสังคมเกี่ยวข้องกับความสามารถปรับปรุงเปลี่ยนแปลงตนเองให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม
อย่างมีจุดมุ่งหมาย
การเลือกสิ่งแวดล้อมที่อำนวยประโยชน์สูงสุดมากกว่าที่จะทำในสิ่งแวดล้อมที่เคยชิน
และความสามารถในการดัดแปลงสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสมกับทักษะความสามารถและค่านิยมของตน
แนวคิดของ สเติร์นเบอร์ก เชื่อว่า ความสามารถทางสติปัญญาที่เกี่ยวข้องกับบริบททางสังคมและวัฒนธรรมของบุคคล
และทฤษฎีย่อยด้านประสบการณ์ (experiential subtheory) ซึ่งอธิบายถึงผลของประสบการณ์ที่มีต่อความสามารถทางปัญญารวมทั้งปัญญาย่อยด้านกระบวนการคิด
(componentialsubtheory) ซึ่งเป็นความสามารถทางสติปัญญาที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการคิด
13. ทฤษฎีการเรียนรู้ตามแนว คอนสตรัคติวิสท์
(Constructivism)
คอนสตรัคติวิสท์
ที่เชื่อว่าการเรียนรู้เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นภายในตัวผู้เรียน
ผู้เรียนเป็นผู้สร้างสรรค์ ความรู้ (construct) ความรู้เกิดจากการสร้างความสัมพันธ์หรือเชื่อมโยงระหว่างสิ่งที่พบเห็น
(สิ่งที่เรียนรู้ใหม่) กับความรู้ความเข้าใจที่มีอยู่เดิม
ทฤษฎีการเรียนรู้ตามแนว คอนสตรัคติวิสท์ อธิบายคำว่า “ความรู้”ว่า
บุคคลแต่ละคนพยายามที่จะนำความเข้าใจเกี่ยวกับเหตุการณ์ และปรากฎการณ์ที่ตนพบเห็นมาสร้างเป็นโครงสร้างทางปัญญา
(cognitivestructure)
หรือที่เรียกว่า Schema (Gagne, ….) โครงสร้างทางปัญญานี้ประกอบด้วยความหมายหรือความเข้าใจเกี่ยวกับสิ่งที่มีประสบการณ์
อาจเป็นความเชื่อ ความเข้าใจ ของคำอธิบายความรู้ของบุคคลนั้นๆ
สรุป ผุ้เรียนสร้างเสริมความรู้ผ่านกระบวนการทางจิตวิทยาด้วยตนเอง
ผู้สอนไม่สามารถปรับเปลี่ยนโครงสร้างทางปัญญาของผู้เรียนได้
แต่ผู้สอนสามารถช่วยผู้เรียนปรับเปลี่ยนโครงสร้างทางปัญญาได้โดยจัดสภาพการณ์ทำให้เกิดภาวะไม่สมดุลขึ้น
คือ สภาวะที่โครงสร้างทางปัญญาเดิมใช้ไม่ได้
ต้องมีการปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับประสบการณ์มากขึ้น
เด็กจะสร้างแนวคิดหลัก และเกิดการเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา
โดยไม่จำเป็นต้องมีการเรียนการสอนภายในห้องเรียนเท่านั้น
แต่การเรียนรู้จะได้จากสิ่งแวดล้อมเป็นสำคัญ
แนวคิดของปรัชญาการสร้างความรู้ อธิบายว่า
การเรียนรู้เป็นกระบวนการที่เกิดภายในตัวบุคคลบุคคลเป็นผู้สร้างสรรค์ความรู้เอง
จากการสัมพันธ์สิ่งที่พบเห็นกับความรู้ความเข้าใจ ที่มีอยู่เดิม
เกิดเป็นโครงสร้างทางปัญญา (cognitive structure)
14. ทฤษฎีพหุปัญญา (Multiple
intelligence) ของการ์ดเนอร์ (Gardner) ค.ศ. 1993
Gardner (1993) ได้เสนอแนวคิดใหม่
เกี่ยวกับสติปัญญาของมนุษย์ โดยอธิบายว่า ในอดีต สังคมจำกัดความหมายของคำว่า
สติปัญญาอยู่เพียงความสามารถเพียงหนึ่งหรือสองด้าน
ซึ่งมักจะเป็นความสามารถในการคิดหาเหตุผลเชิงตรรกะ และ/หรือ ความสามารถทางภาษา
ซึ่งวัดโดยใช้แบบทดสอบมาตรฐาน โดยนักจิตวิทยา
และสามารถใช้เป็นเครื่องพยากรณ์ความสำเร็จในโรงเรียนของผู้เรียนได้เป็นอย่างดี
เนื่องจากการเรียนในโรงเรียนมักจะอยู่บนพื้นฐานความสามารถ 2 ด้านข้างต้น
อย่างไรก็ตาม เมื่อนักเรียนจบการศึกษาจากโรงเรียนเข้าสู่สังคม การประกอบอาชีพ
และการใช้ชีวิตส่วนตัวในสังคมแล้ว
ระดับสติปัญญาที่สามารถพยากรณ์ความสำเร็จในโรงเรียนกลับไม่สัมพันธ์กับความสำเร็จ
ในช่วงเวลาทำงาน ที่เป็นเช่นนี้ เพราะแท้ที่จริงแล้ว ยังมีสติปัญญาด้านต่างๆ
อีกหลายด้าน
ซึ่งเป็นองค์ประกอบในการประสบความสำเร็จในชีวิตส่วนตัวและหน้าที่การงาน
มนุษย์ทุกคนจะมีระดับความสามารถในแต่ละด้านไม่เท่ากัน
และมีการผสมผสานความสามารถต่างๆ ซึ่งอาจรวามเรียกว่า “พหุปัญญา (multiple
intelligence) ซึ่งมีความสำคัญ
และให้นัยที่เป็นประโยชน์ทางการศึกษาและการพัฒนาหลักสูตรมาก