4.ทฤษฎีการเรียนการสอน
การเรียนรู้มีความสัมพันธ์กับการออกแบบการเรียนการสอน
ซึ่งได้มาจากผลการวิจัยเอกัตบุคคลเรียนรู้อย่างไร คำอธิบายว่าจะตีความให้ดีที่สุดได้อย่างไรกับความเห็นเหล่านี้
ก่อให้เกิดทฤษฎีการเรียนการสอนจำนวนมากซึ่งเกิดขึ้นเมื่อ 30 ปีที่แล้วหรือมากกว่านั้น จากทฤษฎีพฤติกรรมนิยมไปจนถึงทฤษฎีปัญญานิยม
เป็นความหวังว่าทฤษฎีเหล่านี้จะช่วยให้เกิดความเข้าใจการเรียนรู้ และประยุกต์วิธีการหรือหลักการใหม่ๆ
ที่เป็นประโยชน์กับผู้ออกแบบการเรียนการสอน
มีทฤษฎีการเรียนการสอนที่น่าสนใจและเป็นประโยชน์มากมาย
ซึ่งในที่นี้จะกล่าวถึงเพียงสี่ทฤษฎีซึ่งมีลักษณะแตกต่างกัน คือ
4.1 ทฤษฎีการเรียนการสอนของกาเย่และบริกส์
กาเย่ (Gagne,1982) มีส่วนช่วยเหลืออย่างสำคัญเกี่ยวกับการเรียนรู้ดังที่เขาได้ตรวจสอบเงื่อนไขสำหรับการเรียนรู้
กาเย่และบริกส์ (Gagne and Briggs, 1979) ได้ขยายเงื่อนไขนี้ออกไปโดยพัฒนาชุดของหลักการสำหรับการออกแบบการเรียนการสอน
ทฤษฎีดังกล่าวนี้มีแนวโน้มที่จะเพิกเฉยต่อปัจจัยการเรียนรู้ดั้งเดิม เช่น การเสริมแรง
(reinforcement) การต่อเนื่อง (contiguity) และการปฏิบัติ
(exercise) เพราะกาเย่และบริกส์คิดว่าเป็นเรื่องธรรมดาเกินไปที่จะใช้ในการออกแบบการเรียนการสอนโดยยืนยันในเรื่องที่เกี่ยวกับการเรียนรู้สารสนเทศทางถ้อยคำ
(Verbalinformation) ทักษะเชาวน์ปัญญา (intellectual
skill) และความสามารถในการเรียนรู้ประเภทอื่นๆ กาเย่ได้ระบุผลที่รับจากการเรียนรู้แต่ละประเภทที่ต้องการสภาวการณ์หรือเงื่อนไขที่แตกต่างกันสำหรับการเรียนรู้การคงความจำ
และการถ่ายโอนการเรียนรู้ในขีดสูงสุด
4.2 ทฤษฎีการเรียนการสอนของเมอร์ริลและไรเกลุท
ทฤษฎีการเรียนการสอนของเมอร์ริลและไรเกลุท
(merril, 1984 : reigeluth, 1979 : 8-15) เกี่ยวข้องกับกลยุทธ์มหภาพ
(mecro-strategies) สำหรับการจัดการเรียนการสอน เช่น ความสัมพันธ์ระหว่างหัวข้อของรายวิชา
และลำดับขั้นตอนของการเรียนการสอนทฤษฎีนี้เน้นมโนทัศน์ หลักการ ระเบียบวิธีการ และการระลึก
(จำได้)สารสนเทศข้อความจริงต่างๆได้โดยทั่วไปแล้ว ทฤษฎีนี้มีทัศนะเกี่ยวกับการเรียนการสอนว่า
เป็นกระบวนการของการนำเสนอรายละเอียดอย่างค่อยเป็นค่อยไปทีละเล็กทีละน้อย หรืออย่างประณีตตามทฤษฎีของเมอร์ริลและไรเกลุท
ขั้นตอนของการเรียนการสอนประกอบด้วย
1.การเลือกปฏิบัติทั้งหมดที่จะสอนโดยการวิเคราะห์ภาระงาน
2.ตัดสินใจว่าจะสอนการปฏิบัติใดเป็นลำดับแรก
3.เรียงลำดับขั้นตอนการปฏิบัติที่ยังค้างอยู่
4.ระบุเนื้อหาที่สนับสนุน
5.กำหนดเนื้อหาทั้งหมดเป็นบทและจัดลำดับบท
6.เรียงลำดับการเรียนการสอนภายในบท
7.ออกแบบการเรียนการสอนสำหรับแต่ละบท
4.3 ทฤษฎีการเรียนการสอนของเคส
เคส
(Case, 1978 : 167-228) ได้แนะนำว่า
ขั้นตอนของพฤติกรรมระหว่างระยะสำคัญของการพัฒนาเชาวน์ปัญญา
ขึ้นอยู่กับปรากฏการณ์ให้เห็นถึงการเพิ่มความซับซ้อนของกลยุทธ์ทางปัญญาการใช้กลยุทธ์ที่ซับซ้อนมากขึ้นกับผู้เรียนทำให้เพิ่มประสบการณ์
(รวมถึงการเรียนการสอน) และเพิ่มขนาดของการทำงานในหน่วยความจำอย่างค่อยเป็นค่อยไปด้วย
ขั้นตอนการออกแบบของเคส
เกี่ยวกับการระบุเป้าประสงค์ของพนักงานที่ปฏิบัติ (เรียนรู้) จัดลำดับขั้นปฏิบัติเพื่อช่วยผู้เรียนให้ไปถึงเป้าประสงค์เพื่อเปรียบเทียบการปฏิบัติของผู้เรียน
(หรือความคิดที่รายงาน) กับเอกัสบุคคลที่มีทักษะประเมินระดับงานของนักเรียน (โดยตั้งคำถามทางคลินิก)
การออกแบบฝึกหัดเพื่อสาธิตให้ผู้เรียนได้ศึกษา (ถ้าจำเป็น) และอธิบายว่าทำไมกลยุทธ์ที่ถูกต้องจึงได้ผลดีกว่า
และสุดท้ายนำเสนอตัวอย่างเพิ่มเติมโดยใช้กลยุทธ์ใหม่
4.4 ทฤษฎีการเรียนการสอนของลันดา
ทฤษฎีการเรียนการสอนของลันดา
(Landa, 1974) เป็นการออกแบบจำลองการเรียนการสอนที่แยกออกมา โดยใช้วิธีการพิเศษในการแก้ปัญหาเฉพาะอย่าง
(algorithms) โปรแกรมการฝึกอบรมจะมีการพัฒนาวิธีการพิเศษในการแก้ปัญหาเฉพาะอย่างของภาระงาน
ซึ่งกำหนดให้ผู้เรียนติดตามระเบียบวิธีที่มีอยู่ในคู่มือการอบรม ในการใช้วิธีการออกแบบของอันดา
เป็นความจำเป็นที่ต้องมีการระบุกิจกรรมและการปฏิบัติทั้งหมดที่มีอยู่ค่อนก่อนหน้านั้น
ซึ่งผู้เรียนจะต้องแสดงออกมา เพื่อจะได้รวมไว้ในการแก้ปัญหาบางอย่าง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น