วันจันทร์ที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2561

ความเข้าใจผู้เรียนและการเรียนรู้


7.ความเข้าใจผู้เรียนและการเรียนรู้
            การเรียนรู้เป็นการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่ถาวรเนื่องจากการฝึกปฏิบัติหรือประสบการณ์การเรียนรู้ขึ้นอยู่กับปัจจัยสามประการ คือ ประการแรก ความสามารถของผู้เรียน ประการที่สอง ระดับของแรงจูงใจ และ ประการสุดท้าย ธรรมชาติของภาระงาน
            การเรียนรู้มีกระบวนการดังนี้ คือ
1.แรงจูงใจภายในทำให้ผู้เรียนรับความคิดง่าย
2.เป้าประสงค์ทำให้มีสำคัญได้ถึงความต้องการจำเป็นในสิ่งที่เรียน
3.ผู้เรียนเสาะหาวิธีการที่เหมาะสมในการแก้ปัญหา
4.ผลของความก้าวหน้าจากการเลือกแก้ปัญหาที่ลดความตึงเครียด
5.การขจัดพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม
ขอบเขตของการเรียนรู้สี่ประการ
บลูม และเพื่อนๆเป็นที่รู้จักกันดีในการแบ่งการเรียนรู้ออกเป็นสามประเภท คือ ด้านปัญญา หรือด้านพุทธพิสัย ด้านทักษะพิสัยและด้านจิตพิสัย พุทธพิสัยรวมถึงการเรียนรู้และการเรียนรู้ประยุกต์ใช้ความรู้ ทักษะพิสัยรวมถึงการพัฒนาเสรีทางกายและทักษะที่ต้องการใช้กล้ามเนื้อสมัพันธ์กับประสาทจิตพิสัยเกี่ยวข้องกับการได้มาซึ่งเจตคติ ความซาบซึ้งและค่านิยม การเรียนรู้ทั้งสามประการนี้ควรได้รับการพิจารณาในการวางแผนที่ได้รับจากการเรียนรู้ที่ได้จากการเรียนการสอน ในการที่จะประสบผลสำเร็จตามเป้าประสงค์ของการศึกษาขอบเขตการเรียนรู้ทั้งสามต้องได้รับการบูรณาการเข้าไว้ในทุกลักษณะของการเรียนการสอน

อนุกรมภิธาน เป็นระบบของการแยกแยะบางสิ่งบางอย่าง ดังนั้น อนุกรมภิธานของการศึกษาจึงแยกแยะพฤติกรรมที่นักเรียนสามารถคาดหวังที่จะทำให้ได้ภายหลังจากที่ได้เรียนรู้แล้ว อนุกรมภิธานเป็นที่รู้จักกันมากที่สุด คือ อนุกรมภิธานด้านพุทธพิสัยของบลูมและเพื่อนๆ

องค์ประกอบของการเรียนรู้
องค์ประกอบของการเรียนรู้ประกอบด้วยสิ่งสำคัญห้าประการ คือ ๑. ตัวผู้เรียน ซี่งหมายถึงวุฒิภาวะและความพร้อม อายุ เพศ ประสบการณ์เดิม สมรรถวิสัย ความบกพร่องทางร่างกายบางประการ การจูงใจ สติปัญญา และอารมณ์ ๒. บทเรียน ประกอบด้วย ความยากง่ายของบทเรียน ความมีความหมายของสิ่งที่เรียน ความยาวของบทเรียน ตัวรบกวนการเรียน ๓. วิธีการเรียรู้ประกอบด้วย กิจกรรมของการเรียนการสอน สิ่งจูงใจ คำแนะนำและการแนะแนว การส่งเสริมให้ผู้เรียนใช้ประสาทรับรู้ช่วยการเรียน การสอนรวดเดียวหรือทีละตอน การเสริมแรงทั้งบวกและลบ การท่องจำ การรู้ผล สิ่งกระตุ้นต่างๆ ๔. การถ้ายโยงการเรียนรู้ และ ๕. องค์ประกอบของสิ่งต่างๆทั้งด้านกายภาพและจิตใจ
องค์ประกอบที่ส่งผลต่อกาเรียนรู้
จากการศึกษาของนักจิตวิทยาและนักการศึกษาพบว่า องค์ประกอบที่ส่งผลต่อการเรียนรู้ของมนุษย์คือ องค์ประกอบด้านเชาวน์ปัญญา และองค์ประกอบที่ไม่ใช่สติปัญญา
องค์ประกอบด้านสติปัญญา นักจิตวิทยาและนักการศึกษาได้พยายามศึกษาค้นคว้าเรื่องขององค์ประกอบด้านสติปัญญา และได้นำเสนอสมรรถภาพทางสมองของมนุษย์ไว้หลายทฤษฎี เช่น ทฤษฎีเอกนัย ของบิเนท์ ทฤษฎีสององค์ประกอบ ของสเปียรแมน ทฤษฎีหลายองค์ประกอบ ของ เธอร์สโตน
องค์ประกอบด้านที่ไม่ใช่สติปัญญา เป็นองค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนไม่น้อยกว่าองค์ประกอบด้านสติปัญญา ได้แก่ เจตคติที่มีต่อวิชาเรียน ขนาดของโรงเรียนและการศึกษาของบิดามารดา เพรสคอทท์ ได้สรุปองค์ประกอบที่มีอิทธิพลสัมฤทธิ์ทางการเรียนไว้ห้าประการ 
1. องค์ประกอบทางกาย 
2. องค์ประกอบทางด้านวัฒนธรรม 
3. องค์ประกอบทางด้านความสัมพันธ์ในกลุ่มเพื่อน 
4. องค์ประกอบทางด้านการพัฒนาแห่งตน 
5. องค์ประกอบทั้งห้ามีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน

สุชาติ ได้กำหนดกรอบแนวคิดไว้สามด้าน
1. องค์ประกอบทางด้านคุณลักษณะของผู้เรียน ประกอบด้วย 1. ผลสัมฤทธิ์เดิม หมายถึง ความรู้ 2. เจตคตอต่อผู้เรียน ซึ่งก่อให้เกิดความตั้งใจ 3. แรงจูงใจ
2.  องค์ประกอบด้านการเรียนการสอน ประกอบด้วยพฤติกรรมการเรียนของนักเรียนและพฤติกรรมการสอนของครู
3. องค์ประกอบด้านสิ่งแวดล้อม สภาพแวดล้อมมีความสัมพันธ์เชิงอิทธิพลต่อระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น