วันอังคารที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2561

รูปแบบการเรียนการสอนที่เป็นสากล


รูปแบบการเรียนการสอนที่เป็นสากล
1.1ความหมายของรูปแบบ (Model)
            รูปแบบเป็นรูปธรรมของความคิดที่เป็นนามธรรม ซึ่งบุคคลแสดงออกมาในลักษณะใด ลักษณะหนึ่ง เช่น เป็นคําอธิบาย เป็นแผนผัง ไดอะแกรม หรือแผนภาพ เพื่อช่วยให้ตนเองและบุคคล อื่นสามารถเข้าใจได้ชัดเจนขึ้น

รูปแบบโดยทั่วไปจะต้องมีองค์ประกอบที่สำคัญดังนี้
        1. รูปแบบจะต้องนำไปสู่การทำนาย (prediction) ผลที่ตามมา ซึ่งสามารถพิสูจน์ ทดสอบได้ กล่าวคือ สามารถนำไปสร้างเครื่องมือเพื่อไปพิสูจน์ทดสอบได้
        2. โครงสร้างของรูปแบบจะต้องประกอบด้วยความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ (causal relationship) ซึ่งสามารถใช้อธิบายปรากฏการณ์เรื่องนั้นได้
        3. รูปแบบจะต้องสามารถช่วยสร้างจินตนาการ (imagination) ความคิดรวบยอด (concept) และความสัมพันธ์ (interrelations) รวมทั้งช่วยขยายขอบเขตการสืบเสาะความรู้
        4. รูปแบบควรจะประกอบด้วยความสัมพันธ์เชิงโครงสร้าง (structural relationships) มากกว่า ความสัมพันธ์เชิงเชื่อมโยง (associative relationships)


รูปแบบ (Model) ที่ใช้กันอยู่โดยทั่วไป มี 5 แบบ หรือ 5 ลักษณะ คือ (Kaplan, 1964 อ้างถึงใน Keeves, 1997 : 386 – 387)
                1. รูปแบบเชิงเปรียบ (Analogue Model) ได้แก่ ความคิดที่แสดงออก ของการเปรียบเทียบสิ่งต่างๆ อย่างน้อย 2 สิ่งขึ้นไป รูปแบบลักษณะนี้ใช้กันมากทาง กายภาพ สังคมศาสตร์และพฤติกรรมศาสตร์
                2. รูปแบบเชิงภาษา (Semantic Model) ได้แก่ ความคิดแสดงออกผ่านทางการ (พูดและเขียน) รูปแบบลักษณะนี้ใช้กันมากทางด้านศึกษาศาสตร์
                3 รปแบบเชิงคณิตศาสตร์ (Mathematical Model) ได้แก่ ความคิดที่แสดงออก สูตรคณิตศาสตร์ ซึ่งส่วนมากจะเกิดขึ้นหลังจากได้รูปเชิงภาษาแล้ว
                4 รปแบบเชิงแผนผัง (Schernatic Model) ได้แก่ ความคิดที่แสดงออกผ่านทางแยก แผนภาพ ไดอะแกรม กราฟ เป็นต้น
                5. รูปแบบเชิงสาเหตุ (Causal Model) ได้แก่ ความคิดที่แสดงให้เห็นถึงความสัมพัน เชิงสาเหตุระหว่างตัวแปรต่างๆ ของสถานการณ์ปัญหาใดๆ รูปแบบด้านศึกษาศาสตร์ มักจะเป็น แบบนี้เป็นส่วนใหญ่

1.2 รูปแบบการเรียนการสอนและระบบการเรียนการสอน
            ระบบการจัดการเรียนการสอนก็คือ องค์ประกอบต่างๆของการเรียนการสอนที่ได้รับการจัดไว้ ให้มีความสัมพันธ์และส่งเสริมกันอย่างเป็นระเบียบ เพื่อช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนตามจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้ ระบบการจัดการเรียนการสอน เป็นระบบย่อยของระบบการศึกษา และอาจจัดได้ในลักษณะที่เป็นระบบใหญ่คือเป็นระบบที่ครอบคลุมองค์ประกอบของการเรียนการสอนมาจัดเป็นระบบย่อยย่อยลงไปอีกก็ได้
            ส่วนรูปแบบการเรียนการสอนนั้นหมายถึง สภาพหรือลักษณะของการจัดการเรียนการสอนนั้นอย่างเป็นระบบระเบียบ ตามหลักปรัชญา ทฤษฎี หลัก แนวคิดหรือความเชื่อต่างๆโดยมีการจัดกระบวนการหรือขั้นตอนในการเรียนการสอนโดยอาศัยวิธีสอนและเทคนิคการสอนต่างๆเข้าไปช่วยทำให้สภาพการเรียนการสอนนั้นเป็นไปตามหลักการที่ยึดถือและได้รับการพิสูจน์และทดสอบแล้วว่ามีประสิทธิภาพสามารถใช้เป็นแบบแผนได้
            ดังนั้นจึงสรุปได้ว่าระบบการจัดการเรียนการสอนกับรูปแบบการจัดการเรียนการสอนนั้นมีความหมายเหมือนกันแต่นิยมใช้ต่างกันในแง่ของระบบใหญ่และระบบย่อยระบบการจัดการเรียนการสอนนิยมใช้กับระบบใหญ่ซึ่งครอบคลุมองค์ประกอบสำคัญของการเรียนการสอนในภาพรวมส่วนรูปแบบการเรียนการสอนนิยมใช้กับระบบที่ย่อยกว่าเช่น ระบบวิธีสอนแบบต่างๆซึ่งในหัวข้อต่อไปจะเสนอตัวอย่างระบบวิธีสอน หรือรูปแบบการเรียนการสอนหรือรูปแบบการเรียนการสอนแบบต่างๆที่สำคัญเพื่อช่วยให้เกิดความเข้าใจขึ้นและช่วยให้แนวทางที่จะสามารถนำไปใช้ประโยชน์ต่อไป

1.3 รูปแบบการเรียนการสอนที่เป็นสากล
        รูปแบบการเรียนการสอนที่เป็นสากลซึ่ง รองศาสตราจารย์ ดร. ทิศนา แขมมณี ได้คัดเลือกมานำเสนอล้วนได้รับการพิสูจน์ทดสอบประสิทธิภาพมาแล้วและมีผู้นิยมนำไปใช้ในการเรียนการสอนโดยทั่วไป แต่เนื่องจากรูปแบบการเรียนการสอนดังกล่าวมีจำนวนมาก เพื่อความสะดวกในการศึกษาและการนำไปใช้ ผู้เขียนจึงได้จัดหมวดหมู่ของรูปแบบเหล่านั้นตามลักษณะของวัตถุประสงค์เฉพาะหรือเจตนารมณ์ของรูปแบบ ซึ่งสามารถจัดกลุ่มได้เป็น 5 หมวดดังนี้ 

  1. รูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นการพัฒนาด้านพุทธิพิสัย (cognitive domain)
  2. รูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นการพัฒนาด้านจิตพิสัย (affective domain)
  3. รูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นการพัฒนาด้านทักษะพิสัย (psycho - motor domain)
  4. รูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นการพัฒนาทักษะกระบวนการ (process skills)
  5. รูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นการบูรณาการ (integration)




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น