วันอังคารที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

บทที่ 7



           ในการจัดการเรียนการสอนนั้นสามารถทำได้หลายรูปแบบ ซึ่งในแต่ละรูปแบบนั้นได้นำวิธีการจัดระบบการเรียนการสอนเข้ามาใช้เพื่อให้กระบวนการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพบรรลุตามจุดประสงค์ที่กำหนดไว้ เช่นเดียวกับการประกอบกิจการงานทั่วไป หากงานใดได้นำวิธีการจัดระบบการทำงานเข้าไปใช้แล้วงานนั้นย่อมดำเนินไปด้วยดีและมีประสิทธิภาพเช่นเดียวกัน การใช้ การใช้วิธีการจัดระบบต่างๆ รวมทั้งงานที่เกี่ยวกับการเรียนการสอนนี้ ส่วนใหญ่จะต้องเริ่มต้นจากการวางแผน ซึ่งการเมืองแผนการสอนหรือการวางแผนการจัดการเรียนรู้ถือเป็นส่วนหนึ่งของระบบการสอนที่เน้นการเตรียมการสอนล่วงหน้าก่อนสอนโดยศึกษาข้อมูลที่เกี่ยวข้องแล้วจึงเขียนเป็นแผนการสอนหรือแผนการจัดการเรียนเรียนรู้อย่างมีระบบและสามารถตรวจสอบขั้นตอนต่างๆ ได้


นักการศึกษาได้ให้ความหมายของการวางแผนการสอนไว้ดังนี้
ไพฑูรย์ สินลารัตน์(หน้า 68) ได้ให้ความหมายของการวางแผนการสอนไว้ว่า การวางแผนการสอนเป็นกิจกรรมในการคาดคิดและกระทำของครูก่อนที่จะเริ่มดำเนินการสอนในวิชาใดวิชาหนึ่งนั่นเอง ซึ่งโดยทั่วไปจะประกอบด้วยการกำหนดจุดมุ่งหมาย การคัดเลือกเนื้อหา การกำหนดกิจกรรมการเรียนการสอน สื่อการเรียนการสอนและการประเมินผล
วาสนา เพิ่มพูน (2542 หน้า 37) ให้ความหมายว่า การวางแผนการสอนเป็นการคิดล่วงหน้าอย่างรอบคอบว่าจะจัดกิจกรรมการเรียนการสอนอย่างไร เมื่อถึงเวลาจริงๆก็ดำเนินการไปตามแผนที่กำหนดได้ ถ้าหากไม่ได้วางแผนการเรียนการสอนไว้ล่วงหน้าก็มักจะเกิดปัญหาและอุปสรรคต่างๆมากมาย เกิดการผิดพลาดลืมสิ่งใดสิ่งหนึ่งหรือกิจกรรมที่ดำเนินไปนั้นไม่ดีเท่าที่ควร
ชัยยงค์ พรหมวงค์(2543. หน้า 44) เสนอไว้ว่า การวางแผนการสอนเป็นส่วนหนึ่งของระบบการสอนที่เป็นการเตรียมการล่วงหน้าก่อนสอนโดยใช้ข้อมูลต่างๆที่รวบรวมได้จากการดำเนินงานตามระบบการสอน
จากคำจำกัดความของนักการศึกษาข้างต้น สรุปได้ว่า การวางแผนการสอนเป็นการเตรียมพร้อมเกี่ยวกับการเรียนการสอนอย่างละเอียด เพื่อจะได้ดำเนินการเรียนการสอนได้อย่างถูกต้องและตรงตามจุดประสงค์

 การวางแผนการสอนเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการสอนที่ดี เพราะการวางแผนการสอนเป็นการเลือกและตัดสินใจเพื่อหาทางออกที่ดีที่สุด ทำให้เกิดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง มีการจัดเตรียมเนื้อหาโดยนำเนื้อหามาบูรณาการกัน ทำให้ง่ายต่อการศึกษาทำความเข้าใจ นอกจากนี้การวางแผนการสอนล่วงหน้ายังมีความจำเป็นในแง่ช่วยให้ผู้สอนเข้าใจถึงจุดประสงค์ในการเรียนการสอนอย่างชัดเจน และสามารถจัดกิจกรรมให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียนได้เป็นอย่างดี ผู้สอนมีโอกาสได้ทราบเจตคติและความรู้พื้นฐานของผู้เรียน ทำให้สามารถเลือกวิธีสอน และการประเมินผลได้ถูกต้อง และโดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่ผู้สอนไม่สามารถเข้าสอนได้ผู้สอนท่านอื่นก็สามารถที่จะเข้าสอนแทนได้โดยง่าย

ในการวางแผนการสอนนั้นผู้สอนหรือผู้วางแผนจะต้องศึกษารายละเอียดของข้อมูลต่างๆที่เกี่ยวข้องและนำมาพิจารณาในการวางแผนการสอน ข้อมูลเหล่านี้ ได้แก่
1. สภาพปัญหาและทรัพยากร ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับปัญหาการเรียนการสอนที่ผู้สอนรวบรวมได้จากการสำรวจปัญหาและตรวจสอบทรัพยากรในแง่กำลังคน งบประมาณ วัสดุ อุปกรณ์ และวิธีการ ข้อมูลส่วนนี้จะทำให้ผู้ฟังแผนกำหนดรูปแบบการสอน กิจกรรมการเรียน และสื่อการสอนได้ชัดเจนขึ้น
2. การวิเคราะห์เนื้อหา โดยกำหนดเป็นระดับหน่วยใหญ่ที่อาจต้องสอนหลายครั้ง ระดับหน่วยย่อยที่เป็นปลีกย่อยของหน่วยใหญ่ และระดับบทเรียนที่เป็นเนื้อหาของการสอน 1 ครั้ง สำหรับเนื้อหาของบทเรียนก็ต้องมีเคราะห์ออกเป็นหัวเรื่อง และหัวข้อย่อยเช่นเดียวกัน
3. การวิเคราะห์ผู้เรียน เป็นข้อมูลที่เกี่ยวกับอายุ ระดับความพร้อมและความรู้เดิมของผู้เรียนข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับผู้เรียนมีความจำเป็นสำหรับการจัดการเรียนการสอนที่สอดคล้องกับผู้เรียนในระดับต่างๆ
4. ความคิดรวบยอด เป็นข้อมูลที่เกี่ยวกับสาระ หรือ แก่นของเนื้อหาที่ต้องการให้ผู้เรียนได้รับอาจเปรียบได้ง่ายๆกับการปรุงอาหารที่ต้องมีการกำหนดความสมดุลของสารอาหารที่ผู้บริโภคจะได้รับ โดยไม่คำนึงถึงกากหรือเนื้ออาหาร การสอนก็เช่นเดียวกันผู้สอนต้องกำหนดให้เด่นชัดก่อนว่าต้องการให้ผู้เรียนได้รับความคิดรวบยอดที่เป็นแก่นสารของเนื้อหาสาระอะไรบ้าง
5. วัตถุประสงค์ วัตถุประสงค์เป็นเป้าหมายแห่งความสำเร็จในส่วนของการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในตัวผู้เรียนที่ผู้สอนกำหนดไว้ การกำหนดวัตถุประสงค์ต้องมีทั้งวัตถุประสงค์ทั่วไปและวัตถุประสงค์เฉพาะก็นิยมกำหนดไว้ในรูปวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม
6. กิจกรรมการเรียน เป็นข้อมูลที่ผู้สอนต้องคาดการณ์ล่วงหน้าว่าจะให้ผู้เรียนประกอบกิจกรรมการเรียนอะไรบ้าง โดยคำนึงถึงกิจกรรมกลุ่มใหญ่ กลุ่มย่อย และกิจกรรมรายบุคคล กิจกรรมการเรียนต้องจัดไว้ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
7. สื่อการสอน เป็นข้อมูลที่ผู้สอนต้องคาดการณ์ไว้ล่วงหน้าว่าเช่นเดียวกัน โดยพิจารณากิจกรรมการเรียนเป็นหลัก
8. การประเมินผล เป็นข้อมูลที่ผู้สอนต้องคาดการณ์ไว้ว่าจะตรวจสอบพฤติกรรมการเรียนรู้ของผู้เรียนอย่างไร ทั้งในส่วนที่เป็นพฤติกรรมเดิม (ความรู้เดิมที่มีอยู่แล้ว) พฤติกรรมต่อเนื่อง (พฤติกรรมย่อยที่ผู้สอนต้องให้ผู้เรียนเรียนรู้ไปทีละน้อย) และพฤติกรรมขั้นสุดท้าย (พฤติกรรมที่เป็นผลลัพธ์ซึ่งผู้สอนคาดหมายไว้)

การวางแผนการสอนสามารถกระทำได้ 2 แนวทางคือ การวางแผนระยะยาว และการวางแผนระยะสั้น
1. การวางแผนระยะยาว หมายถึง การวางการสอนที่ยึดหน่วยการสอนซึ่งครอบคลุมเนื้อหาสาระค่อนข้างกว้าง ต้องใช้เวลาในการสอนเป็นสัปดาห์หรือเป็นเดือน เป็นภาคเรียนและเป็นปี โดยการทำเป็นโครงการสอน ซึ่งเรียกตามหลักสูตรเก่าหรือหลักสูตรใหม่ เรียกว่ากำหนดการสอนนั่นเอง
2. การวางแผนระยะสั้น หมายถึง การวางแผนการสอนของบทเรียนแต่ละเรื่องให้เป็นไปตามความมุ่งหมายที่กำหนดไว้ ผู้สอนที่ดีจำเป็นต้องมีแผนล่วงหน้าในการสอนทุกเรื่อง การวางแผนการสอนของผู้สอนอาจทำในรูปแบบต่างๆกัน และอาจเรียกว่า บันทึกการสอนตามหลักสูตรเก่า หรือแผนการสอน แต่ในปัจจุบันสถานศึกษาทุกแห่งยังคงใช้คำว่าแผนการสอน ให้ใช้คำว่าแผนการเรียนรู้หรือแผนการจัดการเรียนรู้แทน ซึ่งสถานศึกษาบางแห่งก็ยังคงใช้คำว่าแผนการสอนอยู่ เพราะสร้างความเข้าใจได้ง่ายเป็นแผนที่ครูเป็นผู้จัดทำออกแบบและใช้ในการเรียนการสอนหรือการจัดการเรียนรู้

ความหมายของกำหนดการสอน
การกำหนดการสอนเป็นการเตรียมการสอนล่วงหน้าของผู้สอนในระยะยาว สำหรับวิชาใดวิชาหนึ่งโดยกำหนดเนื้อหาสาระที่จะต้องดำเนินการสอนในระยะเวลาต่างๆ เช่น การกำหนดการสอนตลอดทั้งปี ตลอดเทอม และตลอดสัปดาห์ ดังนั้น การกำหนดการสอนซึ่งอาจแบ่งได้เป็น 3 ชนิด คือ
1. กำหนดการสอนรายปี
2. กำหนดการสอนรายภาค
3. กำหนดการสอนรายสัปดาห์
การกำหนดการสอนต้องคำนึงถึงกำหนดวันปิดและเปิดภาคเรียน วันหยุดวันสำคัญต่างๆ การหยุดเรียนในวันที่มีกิจกรรมพิเศษ ตลอดจนการกำหนดวันสอบย่อย สอบปลายเทอม การกำหนดการสอนเปรียบเสมือนการกำหนดตารางเวลาการดำเนินการสอนของผู้สอน การกำหนดเวลาและเนื้อหาสาระที่สัมพันธ์กันอย่างเหมาะสม โดยกำหนดเรื่องใดตอนใดต้องสอนก่อนหลังใช้เวลาแต่ละเรื่องมากน้อยเท่าใด ซึ่งจะช่วยให้ผู้สอนสอนทำตามกำหนดที่ต้องการ
การกำหนดการสอนนี้จะทำแบบรายปี รายภาค รายสัปดาห์ ก็สามารถทำร่วมกันได้โดยจะเป็นรูปแบบอย่างไรก็ได้ตามความเหมาะสมและผู้สอนเห็นสมควร

หลักการทำกำหนดการสอน
ผู้สอนควรทำแผนการสอนของกรมวิชาการ หรือแผนแม่บทกระทรวงศึกษาธิการซึ่งเขียนไว้เขียนย่อๆ หรือคร่าวๆ มาพิจารณาหัวข้อเป็นหัวข้อย่อย บางหน่วยต้องเพิ่มเติมต้องนำไปทำแผนการสอนอย่างละเอียดอีกครั้ง ดังนั้น การทำกำหนดการสอนก็เพื่อให้ผู้สอนกำหนดแนวทางในการสอนตลอดปีหรือสอนตลอดภาคการเรียนว่า จะสอนอย่างไรให้เนื้อหาต่อเวลาในการสอนสัมพันธ์กันการทำกำหนดการสอนสามารถทำได้โดย
1. ผู้สอนที่สอนในระดับเดียวกันมาร่วมกันพิจารณาด้วยกัน
2. ช่วยกันสำรวจจำนวนคาบที่จะสอนในแต่ละหน่วยว่าเหมาะสมหรือไม่
3. เริ่มหัวข้อแต่ละหัวข้อย่อยมากำหนดในการกำหนดการสอนโดยให้สัมพันธ์กับเวลาหรือจำนวนคาบที่จะใช้สอนโดยพิจารณาอย่างละเอียดถี่ถ้วน
4. พิจารณาจำนวนคาบเวลาในแต่ละสัปดาห์ของ แต่ละวิชาให้สัดส่วนที่เหมาะสมระหว่างเวลาเรียนกับเนื้อหาแต่ละหัวข้อ

 ประโยชน์ของการกำหนดการสอน
          การทำการสอนมีประโยชน์ ดังนี้
1. ใช้เป็นแนวทางในการทำแผนการสอนเพื่อใช้สอนได้สะดวก ผู้สอนสามารถเข้าใจและมองเห็นงานของตนได้ล่วงหน้าชัดเจน สามารถพิจารณาปรับปรุงให้เหมาะสมอยู่เสมอในการคิดวางแผนล่วงหน้า ทำให้การสอนของผู้สอนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและการเรียนรู้ของผู้เรียนเป็นไปอย่างได้ผล
2. ช่วยให้การสอนเป็นไปตามหลักสูตร เหมาะสมกับผู้เรียนและสอดคล้องกับภาพแวดล้อมและชุมชนเสมอ
3. ทำให้การเปลี่ยนแปลงผู้สอนใหม่ การรับงานของผู้สอนใหม่ การประสานสัมพันธ์ระหว่างผู้ช่วยสอนกับผู้สอน การจัดการผู้สอนแทน ฯลฯ เป็นไปด้วยดีไม่มีกระทบกระเทือนต่อผู้เรียนเกินไป
4. ช่วยให้ผู้บริหาร ผู้นิเทศ รู้ลู่ทางที่จะแนะนำ ตลอดจนให้ความร่วมมือสนับสนุนด้วยประการต่างๆ
5. ทำให้ประสิทธิผลสะดวก เป็นไปตามจุดมุ่งหมาย หรือจุดประสงค์ที่กำหนดไว้

ความหมายของแผนการสอน
          แผนการสอนหรือในปัจจุบันใช้คำว่าแผนการจัดการเรียนรู้เป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตร ซึ่งหมายถึง แนวทางในการสอนที่กระทรวงศึกษาธิการจัดทำขึ้นให้ผู้สอนได้นำไปใช้เป็นแนวทางในการจัดการเรียนการสอนหรือแผนการจัดการเรียนรู้ เพื่อนำผู้เรียนไปสู่จุดหมายของการศึกษา ครูหรือผู้สอนอาจต้องปรับปรุงแผนการสอน เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพความต้องการของท้องถิ่นได้ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหา กิจกรรมการเรียนการสอน สื่อการสอนและการประเมินผล ทั้งนี้โดยความคิดรวบยอด จุดประสงค์การเรียนรู้หรือผลลัพธ์การเรียนรู้ หรือผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง และจุดมุ่งหมายของหลักสูตรเป็นหลัก ดังนั้นในการทำแผนการสอน หรือในการปรับปรุงการสอนเพื่อให้เกิดการสอนที่ดี ผู้สอนจะต้องมีการเตรียมตัวเป็นอย่างดี ในหลายๆด้าน ได้แก่ ด้านความรู้ ด้านเทคนิควิธีการ ตลอดจนการนำสื่อมาใช้ เป็นต้น

ข้อควรคำนึงในการทำแผนการสอน
          การทำแผนการสอนหรือแผนการจัดการเรียนรู้ที่ดีนั้น ผู้สอนจะต้องเตรียมการล่วงหน้าโดยต้องคำนึงถึงสิ่งต่างๆ ดังต่อไปนี้
1. การศึกษาหลักสูตร คู่มือครู หรือเอกสารอื่นๆที่เกี่ยวข้อง ผู้สอนจะต้องศึกษาจุดมุ่งหมายของหลักสูตรให้เข้าใจแจ่มแจ้ง ตลอดจนศึกษารายละเอียดของเนื้อหาที่หลักสูตรกำหนดก่อนที่จะลงมือทำแผนการสอน
2. ความมุ่งหมายของสาระที่สอน ต้องให้ครอบคลุมความมุ่งหมายของการศึกษาทั้ง 3 ด้าน ได้แก่ ด้านความรู้ ด้านเจตคติและด้านทักษะ ผู้สอนจะต้องทำความเข้าใจกับความมุ่งหมายเหล่านี้ให้ชัดเจน สามารถกำหนดผลที่คาดว่าจะได้รับเมื่อมีการเรียนการสอนเกิดขึ้น
3. กำหนดขอบเขตของเนื้อหา บทเรียนในกลุ่มสาระต่างๆที่จะสอนว่าจะให้มีขอบข่ายกว้างขวางตลอดจนความสามารถของผู้เรียนเป็นส่วนประกอบ
4. ทำความเข้าใจเนื้อหาที่สอนอย่างแจ่มแจ้ง ถูกต้อง ชัดเจน รวมทั้งการหาความรู้เพิ่มเติม
5. พิจารณาเลือกวิธีสอนที่เหมาะสมกับเนื้อหาวิชา วัยวุฒิภาวะของผู้เรียน และควรให้เกิดประโยชน์สูงสุด
6. พิจารณาเลือกสื่อการสอนให้เหมาะสมกับวิธีการสอน
7. กำหนดกิจกรรมต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งกิจกรรมที่จะนำไปสู่การปฏิบัติที่ก่อให้เกิดการเรียนรู้อย่างแท้จริง
8. ดำเนินการวัดผลประเมินผลทุกครั้งที่ทำการสอน ด้วยวิธีต่างๆ ที่สอดคล้องกับจุดประสงค์

ลักษณะของแผนการสอนที่ดี
           แผนการสอนที่ดี ควรมีลักษณะต่างๆ ดังต่อไปนี้
1. มีความเหมาะสม สอดคล้องกับจุดมุ่งหมายของหลักสูตรสถานศึกษาตลอดจนปรัชญาของโรงเรียน
2. พิจารณากำหนดจุดประสงค์ให้สอดคล้องเหมาะสมกับผู้เรียนและท้องถิ่น
3. มีการจัดเนื้อหาสาระให้เหมาะสมกับเวลา สภาพความต้องการและความเป็นจริงของท้องถิ่น เพื่อเป็นการกระตุ้นความสนใจ
4. มีการจัดลำดับหัวข้อรายละเอียดของเนื้อหาแต่ละตอนให้กลมกลืนกัน พร้อมทั้งสามารถเชื่อมโยงประสบการณ์ใหม่เข้ากับประสบการณ์เดิมได้
5. ควรมีการกำหนดกิจกรรม และประสบการณ์ควรคำนึงถึงวัยผู้เรียน สภาพแวดล้อมกาลเวลา ความสนใจของผู้เรียน

องค์ประกอบของแผนการสอน
           แผนการสอนโดยทั่วไปมีองค์ประกอบดังนี้
           1. กลุ่มสาระวิชาและเรื่องที่สอน
           2. หัวเรื่อง
           3. ความคิดรวบยอดหรือสาระสำคัญ
           4. จุดประสงค์หรือผลลัพธ์การสอน หรือผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
           5. เนื้อหาหรือสาระการเรียนรู้
           6. กิจกรรมการเรียนการสอน
           7. สื่อการเรียนการสอน
           8. ประเมินผล
           9. หมายเหตุ
         การปรับแผนการสอนหรือแผนการเรียนรู้ตามองค์ประกอบต่างๆ ในข้อความข้างต้น สามารถปรับได้ตามขอบเขตของการปรับการแผนการสอนหรือแผนการเรียนรู้ดังนี้
           1. จุดประสงค์หรือแผนการเรียนรู้ ผู้ปรับแผนการสอนจะต้องปรับจุดประสงค์บางเรื่องให้เป็นจุดประสงค์เชิงพฤติกรรมที่สามารถประเมินผลหรือวัดผลได้ โดยคำนึงถึงจุดประสงค์ทั่วไป
           2. เนื้อหา เนื้อหาสาระในแผนการสอนของกรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการนั้นได้กำหนดเนื้อหาไว้เพียงหัวข้อหยาบๆ ในบางหน่วยอาจจะมีรายละเอียดเพิ่มเติมไว้ในหลักสูตร เพื่อให้สะดวกต่อการจัดการเรียนการสอน และให้ผู้เรียนได้เรียนรู้เนื้อหาที่ต่อเนื่องกัน
           3. กิจกรรมการเรียนการสอน ในแผนการสอนได้กำหนดกิจกรรมเสนอแนะไว้มากมายเพื่อเป็นแนวทางการสอน และช่วยให้ผู้เรียนได้เกิดการเรียนรู้ได้ตามจุดประสงค์หรือมาตรฐาน และเกิดความเข้าใจเกี่ยวกับความคิดรวบยอดในแผนการสอนบางหน่วย ผู้สอนอาจจะดัดแปลง หรือปรับกิจกรรมให้เหมาะสมกับบทเรียน
           4. สื่อการเรียนการสอน ที่กำหนดไว้ในแผนการสอนประกอบด้วยของจริง ขิงจำลอง วัสดุ อุปกรณ์ แผนภูมิ แผ่นภาพและอื่นๆ ซึ่งผู้สอนจะปรับเปลี่ยนเป็นสื่อการสอนประเภทอื่นๆ ที่หาได้ในท้องถิ่นนั้นๆมาแทนเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างสนุกสนาน
           5. การประเมินผล ในแผนการสอนกลางของกรมวิชาการ นั้นได้กำพหนดวิธีการประเมินไว้ให้ผู้สอนได้เลือกใช้หลายวิธี ซึ่งผู้สอนสามารถเลือกมาแนะนำปรับใช้ให้เหมาะสมกับเนื้อหา บทเรียน วัย วุฒิภาวะและความสามารถของผู้เรียน

รูปแบบของแผนการสอน
            รูปแบบของแผนการสอน สามารถจัดกลุ่มตามลักษณะต่างๆ ได้เป็น 2 ลักษณะดังนี้
           1. รูปแบบของแผนการสอนตามลักษณะการเขียน
                                  1.1 แบบเรียงหัวข้อ เป็นแผนการสอนที่เสนอแผนโดยเรียงลำดับตามหัวข้อที่กำหนดไว้ก่อนหลัง โดยไม่ต้องตีตาราง รูปแบบนี้มีข้อดีคือ สะดวกแก่ผู้สอน เพราะไม่เสียเวลาในการตีตาราง เขียนได้ง่ายกระชับ แต่มีข้อจำกัดคือ ยากต่อการตรวจดูความสอดคล้องของแต่ละหัวข้อเพราะเขียนอยู่คนละหน้า ซึ่งส่วนใหญ่แล้วแผนการสอนรูปแบบเรียงหัวข้อนี้จะมีความยาวประมาณ 2 หน้ากระดาษ
ตัวอย่างแผนการสอนแบบเรียงหัวข้อ
                                  1.2  แบบกึ่งหัวข้อกึ่งตาราง แผนการสอนรูปแบบนี้นิยมเรียกสั้นๆว่า แผนการสอนแบบกึ่งตาราง เป็นแผนการสอนที่เสนอข้อความตามหัวข้อส่วนหนึ่ง และเขียนรายละเอียดลงในตารางอีกส่วนหนึ่ง การเขียนแผนการสอนแบบกึ่งจารางมีข้อดีที่กำหนดขั้นตอนตามเนื้อหาสาระกำหนดกิจกรรมการเรียนการสอน สื่อการเรียนการสอนและการวัดประเมินผลอย่างละเอียด

                      1.3 แบบกรมวิชาการ นำเสนอไว้เป็นตัวอย่างในการเขียนแผนการสอน ซึ่งสถานศึกษาแต่ละแห่งสามารถนำไปดำเนินการปรับใช้ตามความเหมาะสม

           2. รูปแบบของแผนการสอนตามลักษณะของการใช้ การสอนในระดับต่างๆ ได้แก่อนุบาล ช่วงชั้นที่ 1-2 ชั้นประถมศึกษา ช่วงชั้นที่ 3-4 ชั้นมัธยมศึกษา และอุดมศึกษา ย่อมมีรูปแบบของแผนการสอนที่แตกต่างกัน เพื่อความเหมาะสมและสะดวกในการใช้ในแต่ละระดับชั้น

ขั้นตอนในการเขียนแผนการสอน
           ก่อนที่จะลงมือเขียนแผนการสอน ผู้สอนควรได้ศึกษารายละเอียดตามขั้นตอนในการเขียนแผนการสอน ตามหัวข้อต่างๆ โดยศึกษาจากกำหนดการสอนและตารางสอนว่าเรื่องที่จะสอนนั้นเป็นเรื่องอะไร ใช้เวลาสอนกี่คาบ แล้วศึกษาแผนแม่บท และคู่มือครูโดยมีขั้นตอนดังนี้
           1. ศึกษาแผนการสอนแม่บท และปรับแผนการสอนโดยแบ่งหัวข้อของเนื้อหาโดยย่อยลงไปในการแบ่งหัวข้อของเนื้อหา ซึ่งเวลาที่จะสอนในแต่ละครั้งจะไม่เท่ากันแล้วแต่เนื้อหา และการจัดตารางแผนการสอนของแต่ละโรงเรียน
           2. ศึกษาความคิดรวบยอดทั้งหมดของแม่บทนั้นหรือเรื่องนั้นให้แล้ว เข้าใจ
           3. ศึกษาจุดประสงค์มาตรฐานการเรียนรู้ทั้งหลายของสาระนั้น เพื่อทำความเข้าใจว่าสอนแบบนี้ ผู้เรียนทำอะไรบ้าง ได้เปลี่ยนพฤติกรรมไปอย่างไร
           4. ศึกษาเนื้อหาและรายละเอียดว่ามีอะไรบ้าง สอดคล้องกับความคิดรวบยอดและจุดประสงค์หรือไม่
           5. ศึกษากิจกรรมการเรียนทั้งหมดตรวจสอบดูว่ากิจกรรมทั้งหมดแต่ละเรื่องตรงตามเนื้อหาหรือไม่ จะต้องหามาได้โดยวิธีใด อย่างไร ถ้าทำเองจะทันเวลาหรือไม่
           6. ศึกษาการวัดผลและประเมินผลแต่ละครั้งที่สอนว่าใช้วิธีอย่างไร วิธีการเหล่าเหมาะสมกับการวัดเนื้อหาและกิจกรรมหรือไม่

การเขียนแผนการสอน
           จากองค์ประกอบของการเขียนแผน รูปแบบของแผนการสอนและขั้นตอนในการเขียนแผนการสอน เราสามารถนำมาเขียนเป็นแผนการสอนระดับชั้นต่างๆ หรือตามความต้องการตามรายละเอียดในการใช้ตามหัวข้อต่างๆ ดังนี้
           1. ชื่อกลุ่มสาระช่วงชั้นและระดับชั้น เมื่อกำหนดที่จะทำแผนการสอนของกลุ่มสาระหรือเนื้อหาใด ควรเขียนให้ละเอียด เช่น กลุ่มสาระภาษาไทย ช่วงชั้นที่ 1 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 เรื่อง การเขียนเรียงความเป็นต้น
           2. ชื่อหน่วย ชื่อเรื่อง เวลาและวันที่ เมื่อกำหนดสาระหรือเรื่องที่จะสอนแล้วให้ดูในแผนการจัดการเรียนรู้ของกระทรวงศึกษาธิการ โดยให้ศึกษาหน่วยที่เท่าไร
           3. มโนทัศน์หรือความคิดรวยยอด ซึ่งหมายถึง สาระสำคัญข้อสรุปหรือความคิดครั้งสุดท้ายที่เกิดกับผู้เรียนในลักษณะสั้นที่สุด ความคิดนี้จะเกิดขึ้นหลังจากผู้เรียนได้รับปะสบการณ์และเกิดการเรียนรู้เรื่องนั้นแล้ว มโนทัศน์หรือความคิดรวบยอดนี้จะเป็นทักษะที่เป็นแก่นแท้ของเนื้อหาวิชา
           4. คุณสมบัติที่ต้องการเน้น โดยทั่วไปแผนการสอนเดิมจะไม่มีการเขียนไว้ แต่การเรียนการสอนในปัจจุบันเน้นให้มีการฝึกให้ผู้เรียนมีคุณสมบัติที่ดีในด้านต่างๆ โดยในการสอนแต่ละครั้งผู้สอนควรพิจารณากิจกรรมการเรียนการสอน ว่าสอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้และคุณธรรม 30 ข้อ ที่ต้องการเน้นผู้เรียนทำงานร่วมกัน
           5. จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม เป็นจุดประสงค์ที่สังเกตและวัดได้เมื่อผู้เรียนศึกษาหรือเรียนเรื่องนั้นๆแล้ว เกิดการเรียนรู้ที่เปลี่ยนแปลงพฤติกรรม
           6. เนื้อหา ในปัจจุบันอาจใช้สาระการเรียนรู้ของบทเรียนในระดับชั้นต่างๆ ที่กำหนดไว้ในหลักศตรของระดับชั้นนั้นๆ เนื้อหาที่กำหนดไว้นี้จะเป็นเพียงหัวข้อเรื่อง หรือเค้าโครงเรื่องสั้นๆเท่านั้น ผู้สอนจำเป็นต้องนำหัวเรื่องมาขยาย ศึกษาและหารายละเอียดเพิ่มเติมจากเอกสารต่างๆ
           7. กิจกรรมการเรียนการสอน การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ในปัจจุบันนิยมยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ฉะนั้นผู้สอนควรพิจารณากิจกรรมการเรียนการสอนให้เหมาะสม เพื่อนำไปใช้ในการเรียนการสอนตามจุดประสงค์
           8. สื่อการเรียนการสอน หมายถึง ทุกสิ่งทุกอย่างที่ผู้สอนใช้เป็นตัวกลางในการถ่ายทอดความรู้ให้กับผู้เรียนไม่ว่าจะเป็นวัสดุ อุปกรณ์หรือเครื่องมือวิธีการต่างๆ ล้วนแล้วแต่เป็นสื่อการเรียนการสอน
ซึ่งสื่อนี้จะเป็นการกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความสนใจอยากศึกษา อยากรู้และบางครั้งช่วยเร้าความสนใจ
           9. การประเมินผล การประเมินผลนี้เป็นผลต่อเนื่องจากการวัดผลในกระบวนการเรียนการสอน ผู้สอนนำผลจากการวัดด้วยวิธีการต่างๆ เช่นการตอบคำถาม การเข้าร่วมกิจกรรม การสังเกตพฤติกรรม การทำแบบฝึกหัด มาประเมินผลโดยใช้หลักเกณฑ์ต่างๆ ที่จะทำให้ผู้สอนทราบได้ว่าผู้เรียนมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการเรียนรู้ตามจุดประสงค์การเรียนรู้หรือไม่
           10. หมายเหตุ ในแผนการสอนส่วนใหญ่จะเพิ่มส่วนของหมายเหตุไว้ตอนท้าย เพื่อไว้สำหรับบันทึกเพิ่มเติมเกี่ยวกับข้อสังเกตต่างๆ จากการสอนครั้งนั้นๆ ที่นอกเหนือจากหัวข้อองค์ประกอบของแผนการสอนในส่วนต่างๆ ที่ระบุไว้แล้ว

ประโยชน์ของการเขียนแผนการสอน
           การเขียนแผนการสอนทำให้เกิดประโยชน์แก่ผู้สอนและการจัดการเรียนรู้ดังนี้
           1. ทำให้การสอนมีเป้าหมายที่ชัดเจน
           2. ผู้สอนได้เตรียมตัวก่อนที่จะไปสอน ทำให้รู้ล่วงหน้าและเตรียมเนื้อหาได้ถูกต้อง
           3. ทำให้การจัดกิจกรรมการสอนดำเนินไปตามลำดับขั้นตอนที่กำหนด
           4. ทำให้ผู้สอนมีความเชื่อมั่นในการสอนมากขึ้น
           5. ช่วยให้ผู้สอนสามารถดำเนินงานในการเรียนการสอนได้ตรงตามหลักสูตร

สรุป
           การวางแผนการสอนเป็นการเตรียมการล่วงหน้า เพื่อทำให้การจัดการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพ และผู้สอนมีความมั่นใจในการสอนเป็นอย่างดี การวางแผนการสอนนี้สามารถทำได้ทั้งการวางแผนระยะสั้นและระยะยาว โดยศึกษาข้อมูลหรือรายละเอียดต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เอกสารหลักสูตรและการประเมิน

              การเขียนแผนการจัดการเรียนรู้เป็นการวางแผนกิจกรรมให้ผู้เรียนไว้ล่วงหน้า เสมือนแผนที่ในการเดินทางเพื่อไปสู่เป้าหมายตามที่กำหนด ในการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ผู้สอนจะต้องวางแผนการจัดกิจกรรมจะต้องมีความเข้าใจถึงหลักสูตร ธรรมชาติของรายวิชา ทักษะเฉพาะรายวิชาที่ผู้สอนจะต้องสอดแทรกเพิ่มเติมนอกเหนือจากสาระการเรียนรู้ ดังนั้นในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้จึงเป็นกิจกรรมที่จะทำให้ได้เข้าใจเนื้อหาสาระมากขึ้น ผู้สอนจะต้องมีความเข้าใจในในการจัดหน่วยการเรียนรู้ จากนั้นจึงนำหน่วยการเรียนรู้มาวิเคราะห์เป็นแผนจัดการเรียนรู้ย่อยๆ ได้ตามขั้นตอนดังนี้


      จากขั้นตอนดังกล่าวจะเห็นขั้นตอนการได้มาซึ่งแผนการจัดการเรียนรู้ว่าจะต้องจัดทำหน่วยการเรียนรู้ให้เรียบร้อยก่อน จากนั้นจึงทำวางแผนการวิเคราะห์การเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับเนื้อหาสาระการเรียนรู้ ซึ่งขั้นตอนในการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้มีดังนี้
            เมื่อผู้สอนสามารถเลือกรูปแบบในการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ได้แล้วนั้น ผู้สอนจะต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับคำนิยามหรือความหมายของแต่ละหัวข้อในการเขียนแผนจัดการเรียนรู้ตามความหมายดังนี้
           1. ความเข้าใจที่คงทน หมายถึง ความรู้ความเข้าใจที่ต้องการให้นักเรียนจำฝังใจ หรือมีความเข้าใจในเรื่องที่สอนไปอย่างยาวนาน
           2. มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด หมายถึง มาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัดที่ได้ทำการวิเคราะห์มาจากโครงสร้างหน่วยการเรียนรู้
           3. สาระสำคัญ หมายถึง ความคิดรวบยอดของเนื้อหาสาระที่จะทำการจัดการเรียนรู้ในเรื่องหนึ่งๆ โดยสรุปได้สอดคล้องกับชื่อเรื่องและตัวชี้วัด
           4. วัตถุประสงค์ หมายถึง เป้าหมายนำทางที่ตั้งไว้ในการที่จะพัฒนาผู้เรียนให้ไปถึงคุณภาพมาตรฐานและตัวชี้วัดในเรื่องนั้นๆ
           5. สาระการเรียนรู้ หมายถึง สาระเนื้อหาวิชาที่จะทำการสอนที่ได้จากการวิเคราะห์มาตรฐานตัวชี้วัด ที่จะแตกออกเป็น ความรู้ ทักษะ คุณลักษณะ
           6. สมรรถนะที่สำคัญ หมายถึง สมรรถนะที่กระทรวงการศึกษาธิการได้กำหนดไว้ สมรรถนะ
           7. คุณลักษณะอันพึงประสงค์ หมายถึง คุณลักษณะ ๘ ประการที่กระทรวงศึกษากำหนดให้ครูจะต้องเลือกใช้ให้เหมาะสมสอดคล้องกับเรื่องที่จัดการเรียนรู้
           8. ชิ้นงาน/ภาระงาน หมายถึง ชิ้นงาน/ภาระงานที่มอบให้กับผู้เรียนที่ได้จากการวิเคราะห์ตัวชี้วัด
           9. กิจกรรมการเรียนรู้ หมายถึง กระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้กับนักเรียนตามเนื้อหาสาระ และกระบวนการพัฒนาผู้เรียน โดยเลือกกระบวนการจัดการเรียนรู้ตามความเหมาะสมของเนื้อหาสาระการเรียนรู้ และทักษะกระบวนการที่จะจัดส่งถึงให้กับผู้เรียน
                      9.1 กิจกรรมนำเข้าสู่บทเรียน (Introduction Activities)
                      9.2 กิจกรรมพัฒนาการเรียนรู้ (Enabling Activities)
                      9.3 กิจกรรมความคิดรวบยอด (Concept Activities)
           10. สื่อ/แหล่งการเรียนรู้ หมายถึง สื่ออุปกรณ์ วัสดุ แหล่งการเรียนรู้ เป็นสื่อกลางที่จะช่วยให้ผู้เรียนได้เรียนรู้เข้าใจมากขึ้น นักเรียนได้ฝึกปฏิบัติ ได้เรียนรู้จริง เห็นจริง
           11. บันทึกหลังสอน หมายถึง การบันทึกข้อมูลหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยเขียนสภาพการบรรยายสภาพที่เกิดขึ้นของผู้เรียนตามขั้นตอนการจัดกิจกรรมว่ามีปัญหาอย่างไรบ้าง แก้ไขอย่างไร และปรับกิจกรรมการสอนอย่างไร









แผนการจัดการเรียนรู้หรือในปัจจุบันใช้คำว่าแผนการจัดการเรียนรู้เป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตร ซึ่งหมายถึง แนวทางในการสอนที่กระทรวงศึกษาธิการจัดทำขึ้นให้ผู้สอนได้นำไปใช้เป็นแนวทางในการจัดการเรียนการสอนหรือแผนจัดการเรียนรู้เพื่อนำผู้เรียนไปสู่จุดมุ่งหมายของการศึกษา ครู หรือผู้สอน อาจจะต้องปรับปรุงแผนการจัดการเรียนรู้เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพความต้องการของท้องถิ่นได้ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหากิจกรรมการเรียนการสอนสื่อการสอนและการประเมินผลทั้งนี้โดยยึดความคิดรวบยอดจุดประสงค์ของการเรียนรู้หรือผลลัพธ์การเรียนรู้หรือผลการเรียนรู้ที่คาดหวังและจุดมุ่งหมายของหลักสูตรเป็นหลัก ดังนั้นในการทำแผนการจัดการเรียนรู้ หรือในการปรับปรุงการสอน เพื่อให้เกิดการสอนที่ดีผู้สอนจะต้องมีการเตรียมตัวเป็นอย่างดีในหลายๆด้าน ได้แก่ ความรู้ด้านเทคนิควิธี ตลอดจนการนำสื่อมาใช้ เป็นต้น
ข้อควรคำนึงในการทำแผนการจัดการเรียนรู้
การทำแผนการจัดการเรียนรู้หรือแผนจัดการเรียนที่ดีนั้นผู้สอนจะต้องเตรียมการล่วงหน้าโดยคำนึงถึงสิ่งต่างๆดังต่อไปนี้
การศึกษาหลักสูตรคู่มือครูหรือเอกสารอื่นๆที่เกี่ยวข้องผู้สอนจะต้องศึกษาจุดมุ่งหมายของหลักสูตรให้เข้าใจเสียงเก้งตลอดจนต้องศึกษารายละเอียดของเนื้อหาที่หลักสูตรกำหนดก่อนที่จะลงมือทำแผนการจัดการเรียนรู้
ความมุ่งหมายของกลุ่มสาระที่สอนต้องให้ครอบคลุมความมุ่งหมายการศึกษาทั้ง ด้านได้แก่ด้านความรู้ด้านเจตคติและด้านทักษะผู้สอนจะต้องทำความเข้าใจกับความมุ่งหมายเหล่านี้ให้ชัดเจนจนสามารถกำหนดผลที่คาดว่าจะได้รับเมื่อมีการเรียนการสอนเกิดขึ้น
กำหนดขอบเขตของเนื้อหาบทเรียนในกลุ่มสาระต่างๆที่จะสอนว่าจะให้มีขอบข่ายกว้างของตลอดจนความสามารถของผู้เรียนเป็นส่วนประกอบ
ทำความเข้าใจเนื้อหาวิชาที่จะสอนอย่างแจ่มแจ้งถูกต้องชัดเจนรวมทั้งการหาความรู้เพิ่มเติมในส่วนที่เกี่ยวข้อง
5. พิจารณาเลือกวิธีสอนที่เหมาะสมกับเนื้อหา วัย วุฒิภาวะของผู้เรียนและควรให้เกิดประโยชน์สูงสุดสำหรับจะสอนเรื่องนั้นๆด้วย
พิจารณาเลือกสื่อการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับวิธีสอน
กำหนดกิจกรรมต่อเนื่องโดยเฉพาะอย่างยิ่งกิจกรรมที่จะนำไปสู่การปฏิบัติที่ก่อให้เกิดการเรียนจริงแก่ผู้เรียน
ดำเนินการวัดประเมินผลทุกครั้งที่กำหนดการสอนด้วยวิธีต่างๆที่สอดคล้องกับจุดประสงค์ที่กำหนดไว้
ลักษณะของแผนการจัดการเรียนรู้ที่ดี
มี มีความเหมาะสมสอด มีความเหมาะสมสอดคล้องกับจุดมุ่งหมายของหลักสูตรสถาน มีความเหมาะสมสอดคล้องกับจุดมุ่งหมายของหลักสูตรสถานศึกษาตลอดจนปรัชญาของโรงเรียนด้วย
พิจารณากำหนดจุดประสงค์ให้สอดคล้องเหมาะสมกับผู้เรียนและท้องถิ่น
มี มีการจัดเนื้อหาสาระให้ มีการจัดเนื้อหาสาระให้เหมาะสมกับกาลเวลาสภาพ มีการจัดเนื้อหาสาระให้เหมาะสมกับกาลเวลาสภาพความต้องการและความเป็นจริงของท้องถิ่นเพื่อเป็นการกระตุ้นความสนใจและเกิดประโยชน์แก่ผู้เรียนยิ่งขึ้น
มีการจัดลำดับหัวข้อรายละเอียดของเนื้อหาแต่ละตอนให้กลมกลืนกันพร้อมทั้งสามารถเชื่อมโยงประสบการณ์ใหม่และประสบการณ์เก่าให้สอดคล้องสัมพันธ์กันโดยตลอด
พิจารณากำหนดการใช้เวลาที่จะทำการสอนแต่ละเรื่องแต่ละหัวข้อให้เหมาะสมโดยใช้วิธีวิเคราะห์หลักสูตรเป็นแนวทางในการกำหนดการใช้เวลา
ควรมีการกำหนดกิจกรรมและประสบการณ์โดยคำนึงถึงวัยของผู้เรียนสภาพแวดล้อมการเวลาความสนใจของผู้เรียนและการนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์แก่ผู้เรียนรวมทั้งการใช้แหล่งวิทยาการในท้องถิ่นให้เป็นประโยชน์แก่การเรียนการสอนได้อย่างคุ้มค่า
องค์ประกอบของแผนการจัดการเรียนรู้
กลุ่มสาระวิชาและเรื่องที่จะสอน
2หัวเรื่อง
ความคิดรวบยอดหรือสาระสำคัญ
4จุดประสงค์หรือสาระการเรียนรู้
เนื้อหาหรือสาระการเรียนรู้
กิจกรรมการเรียนการสอน
สื่อการเรียนการสอน
ประเมินผล
หมายเหตุ
รูปแบบของแผนการจัดการเรียนรู้
รูปแบบของแผนการจัดการเรียนรู้สามารถจัดกลุ่มตามลักษณะต่างๆได้เป็น ลักษณะดังนี้ หนังใต้ดิน
รูปแบบของแผนการจัดการเรียนรู้ตามลักษณะการเขียนแบ่งได้เป็น รูปแบบคือ
1.1 แบบเรียงหัวข้อเป็นแผนการจัดการเรียนรู้ที่เสนอแผนโดยเขียนเรียงลำดับตามหัวข้อที่กำหนดไว้ก่อนหลังโดยไม่ต้องตีตารางรูปแบบนี้มีข้อดีคือสะดวกแก่ผู้สอนในการเรียนเพราะจะไม่เสียเวลาในการตีตารางเขียนได้ง่ายกระชับแต่มีข้อจำกัดคือยากต่อการตรวจดูความสอดคล้องสัมพันธ์กันของแต่ละหัวข้อเพราะเขียนอยู่คนละหน้าซึ่งส่วนใหญ่แล้วแผนการจัดการเรียนรู้รูปแบบเรียงหัวข้อนี้จะมีความยาวประมาณ หน้ากระดาษโดยเขียนเรียงกันตามหัวข้อต่อไปนี้
1 1.1  ชื่อวิชาและระดับชั้น
1.1.2 ชื่อหน่วยเลือกที่จะสอนและเวลาที่สอนเป็นคราบหรือชั่วโมง
1.1.3 ชื่อหัวเรื่อง
1.1.4 ความคิดรวบยอด
1.1.5 จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม
1.1.6 กิจกรรมการเรียนการสอน
1.1.7  สื่อการเรียนการสอน
1.1.8 การประเมินผล
1.1.9 หมายเหตุ
1.2 แบบกึ่งหัวข้อ ตารางแผนการจัดการเรียนรู้รูปแบบนี้บางครั้งนิยมเรียกสั้นๆว่าแผนการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มตารางเป็นแผนการจัดการเรียนรู้ที่เสนอข้อความตามหัวข้อส่วนหนึ่งและเขียนรายละเอียดลงในตารางอีกส่วนหนึ่ง
การเขียนแผนการจัดการเรียนรู้แบบสุ่ม ข้อ ตารางนี้มีข้อดีตรงที่กำหนดขั้นตอนการสอนตามเนื้อหากำหนดกิจกรรมการเรียนการสอนสื่อการเรียนการสอนและประเมินผลอย่างละเอียดทำให้ผู้ที่นำแผนการจัดการเรียนรู้ไปใช้สามารถทำการสอนตามแผนได้โดยสะดวกส่วนข้อจำกัดคือแผนการจัดการเรียนรู้แบบกลึงหัวข้อ ตารางนี้จัดทำยากกว่าแบบเรียงหัวข้อเพราะจะต้องมีการตีตารางมีการกรอกข้อความลงในตารางที่จะต้องมีความชัดเจนและสัมพันธ์กันโดยตลอด
1.3 แบบกรมวิชาการนำเสนอไว้เป็นตัวอย่างในการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ซึ่งสถานศึกษาแต่ละแห่งสามารถนำไปดำเนินการปรับใช้ได้ตามความเหมาะสม
รูปแบบของแผนการจัดการเรียนรู้ตามลักษณะของการใช้
2.1 ระดับอนุบาลและช่วงชั้นที่ 1-2 ชั้นประถมศึกษานิยมใช้แผนการจัดการเรียนรู้แบบกลึงหัวข้อกลึงตารางเพราะทำให้ผู้สอนสามารถกำหนดกิจกรรมการเรียนรู้ของผู้เรียนที่สำคัญกับจุดประสงค์สื่อการสอนและการประเมินผลได้ชัดเจน
2.2 ระดับช่วงชั้นที่ 3-4 มัธยมศึกษานิยมใช้แบบกึ่งตารางในระดับมัธยมศึกษาตอนต้นม 1-3 ส่วนช่วงชั้นที่ มัธยมศึกษาตอนปลายม ถึงมอ นิยมใช้แผนการจัดการเรียนรู้แบบเรียงหัวข้อ
2.3 ระดับอุดมศึกษานิยมใช้แผนการจัดการเรียนรู้แบบเรียงหัวข้อเพราะกระทัดรัดและผู้สอนสามารถเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ได้โดยใช้เวลาไม่มากนัก
การเขียนแผนการจัดการเรียนรู้
ชื่อกลุ่มสาระช่วงชั้นและระดับชั้น ที่จะทำแผนการจัดการเรียนรู้ของกลุ่มสาระหรือเนื้อหาใดควรเขียนให้ละเอียดเช่นกลุ่มสาระภาษาไทยชุดที่ ชั้นประถมศึกษาปีที่ เรื่องการเขียนเรียงความเป็นต้น
ชื่อหน่วยหัวเรื่องเวลาและวันที่เมื่อกำหนดกลุ่มสาระหรือเรื่องที่จะสอนแล้วให้ดูในแผนการจัดการเรียนรู้ของกระทรวงศึกษาธิการโดยให้ศึกษาหน่วยที่เท่าไรหัวเรื่องอะไรเวลาที่ใช้ในการสอนกำหนดการสอนมีกี่คาบและสอนในวันที่เท่าไรเช่น หน่วยที่ ชีวิตในบ้านเรื่องหน้าที่และความรับผิดชอบของสมาชิกในครอบครัวเวลา 17 คาบวันที่ สิงหาคม 2549 เป็นต้น
มโนทัศน์หรือความคิดรวบยอด ซึ่งหมายถึงสาระสำคัญข้อสรุปหรือความคิดครั้งสุดท้ายที่เกิดกับผู้เรียนในลักษณะสั้นที่สุดความคิดนี้จะเกิดขึ้นหลังจากผู้เรียนได้รับประสบการณ์และเกิดการเรียนรู้เรื่องนั้นมาแล้วมโนทัศน์หรือความคิดรวบยอดนี้จะเป็นทักษะที่เป็นแก่นแท้ของเนื้อหาวิชาของความคิดรวบยอดของแต่ละคนที่เกี่ยวกับสิ่งเดียวกันอาจไม่เหมือนกันเพราะประสบการณ์ต่าง กันและความคิดรวบยอดนี้สามารถเปลี่ยนแปลงได้หากผู้เรียนได้รับประสบการณ์ใหม่ที่ต่างจากเดิมแต่เมื่อผู้เรียนเกิดการเรียนรู้แล้วผู้เรียนจะต้องสรุปลักษณะเด่นหรือลักษณะเฉพาะของสิ่งนั้นด้วย
4. คุณสมบัติที่ต้องการเน้นโดยทั่วไปแผนการจัดการเรียนรู้เดิมจะไม่มีการเขียนไว้ในการเรียนการสอนในปัจจุบันจะเน้นให้มีการฝึกให้ผู้เรียนมีคุณสมบัติที่ดีในด้านต่างๆโดยในการสอนแต่ละครั้งผู้สอนควรจะพิจารณากิจกรรมการเรียนการสอนที่สอนในแต่ละคำว่าสอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้และคุณธรรม 30 ข้อในจริยศึกษาข้อใดบ้างที่เป็นคุณสมบัติที่ต้องการเน้น
จุดประสงค์เชิงพฤติกรรมเป็นจุดประสงค์ที่สังเกตและวัดได้เมื่อผู้เรียนศึกษาหรือเรียนเรื่องนั้นๆแล้วเกิดการเรียนรู้มีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในปัจจุบันตามแผนการจัดการเรียนรู้นิยมเขียนจุดประสงค์ในแผนการจัดการเรียนรู้
6. สาระการเรียนรู้ เนื้อหา ในปัจจุบันอาจใช้สาระการเรียนรู้เป็นเนื้อหาสาระของบทเรียนในระดับชั้นต่างๆที่กำหนดไว้ในหลักสูตรของระดับชั้นนั้นนั้นเนื้อหาที่กำหนดไว้นี้จะเป็นเพียงหัวข้อเรื่องหรือเค้าโครงสั้นๆเท่านั้นผู้สอนจำเป็นต้องนำหัวข้อหรือเค้าโครงเหล่านั้นมาขยายศึกษาและหาอะไรละเอียดเพิ่มเติมจากเอกสารต่างๆเขียนบันทึกความในแผนการจัดการเรียนรู้ให้ชัดเจนว่าต้องการสอนอะไรบ้างที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหานั้นนั้นมีขอบเขตของเนื้อหากว้างลึกซึ้งเพียงใด
7. กระบวนการเรียนรู้/กิจกรรมการเรียนการสอน การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนนั้นในปัจจุบันนิยมยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางฉะนั้นผู้สอนควรพิจารณากิจกรรมการเรียนการสอนให้เหมาะสมเพื่อนำไปใช้ในการเรียนการสอนให้บรรลุตามจุดประสงค์ที่กำหนดไว้ผู้เรียนจะได้พัฒนาศักยภาพของตนในขณะที่เรียนได้อย่างเต็มที่มีการพัฒนาทางด้านร่างกายสังคมอารมณ์และสติปัญญากิจกรรมการเรียนการสอนโดยทั่วไปในแผนการจัดการเรียนรู้มักจะแบ่งออกเป็น ขั้นได้แก่ขั้นนำเข้าสู่บทเรียนขั้นสอนขั้นสรุปและขั้นวัดผลสำหรับขั้นมัผลนี้อาจอยู่ในส่วนของการประเมินก็ได้
แหล่งการเรียนรู้/สื่อการเรียนการสอนหมายถึงทุกสิ่งทุกอย่างที่ผู้สอนใช้เป็นตัวกลางในการถ่ายทอดความรู้ให้กับผู้เรียนไม่ว่าจะเป็นวัสดุอุปกรณ์หรือเครื่องมือวิธีการต่างๆล้วนแล้วแต่เป็นสื่อการเรียนการสอนทั้งสิ้นซึ่งสื่อการเรียนการสอนนี้จะเป็นตัวกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความสนใจอยากศึกษา อยากเรียน และในบางครั้งช่วยเร้าความสนใจให้ผู้เรียนเกิดความกระตือรือร้นในการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองได้อีกด้วยผู้สอนควรมีทักษะในการเลือกใช้การทำนุบำรุงรักษาตลอดจนการประดิษฐ์สื่อการเรียนการสอนขึ้นใช้เองเพื่อแสวงหาจากท้องถิ่นของตนโดยคำนึงถึงการประหยัดทั้งทุนทรัพย์และเวลาเป็นสำคัญ
9. กระบวนการวัดและประเมินผล การประมวลผลนี้เป็นผลต่อเนื่องจากการวัดผลในกระบวนการเรียนการสอน ผู้สอนนำผลจากการวัดด้วยวิธีต่างๆ เช่น การตอบคำถาม การเข้าร่วมกิจกรรมในระหว่างเรียน การสังเกตพฤติกรรมในการเรียนรู้ การทำแบบฝึกหัด เป็นต้น มาประเมินผลโดยใช้หลักเกณฑ์ต่างๆ ที่จะทำให้ผู้สอนสามารถทราบได้ว่า ผู้เรียนมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในการเรียนรู้ตามจุดประสงค์ของการเรียนการสอนที่กำหนดไว้หรือไม่มากน้อยเพียงใด

10. บันทึกผลหลังการสอนในแผนการจัดการเรียนรู้ส่วนใหญ่จะเพิ่มส่วนของบันทึกผลหลังการสอนไว้ในตอนท้าย เพื่อไว้สำหรับบันทึกเพิ่มเติมเกี่ยวกับข้อสังเกตต่างๆจากการสอนครั้งนั้นๆที่นอกเหนือจากหัวข้อขององค์ประกอบของแผนการจัดการเรียนรู้ในส่วนต่างๆที่ระบุไว้แล้วเช่นอ่านบันทึกว่าผู้เรียน คนไม่ได้เข้าชั้นเรียนเพราะต้องไปเป็นตัวแทนแห่เทียนเข้าพรรษาหรือการสอบครั้งนี้เป็นครั้งแรกจึงเสียเวลาไป 20 นาทีเพื่อทักทายและสร้างความคุ้นเคยกันระหว่างผู้สอนกับผู้เรียนผู้เรียนกับผู้เรียนและทำแบบทดสอบก่อนเรียนเป็นต้น

การวัดเป็นกระบวนการเชิงปริมาณในการกำหนดค่าเป็นตัวเลขหรือสัญลักษณ์ที่มีความหมายแทนคุณลักษณะของสิ่งที่วัดโดยอาศัยกฎเกณฑ์อย่างใดอย่างหนึ่ง
ส่วนคำว่าการประเมินผล นั้นเป็นการตัดสินใจเกี่ยวกับคุณภาพหรือคุณค่าของวัตถุสิ่งของโครงการการศึกษาพฤติกรรมการทำงานของคนงานหรือความรู้ความสามารถของนักเรียน
จุดประสงค์ของการวัดและการประเมินผล
การจัดตำแหน่ง (Placement) เป็นการวัดการประเมินผลโดยใช้เครื่องมือต่างๆเพื่อจัดหรือแบ่งประเภทผู้เรียนแต่ละคนว่ามีความสามารถอยู่ตรงระดับไหนของกลุ่มเก่งปานกลางหรืออ่อนมากน้อยเท่าใดซึ่งสามารถใช้หลายๆกรณีเช่นเมื่อจะรับผู้เรียนเข้าสถานศึกษาผู้เรียนแต่ละคนจะมีความแตกต่างกันทั้งด้านสติปัญญาความสนใจความถนัดรวมทั้งบุคลิกภาพด้านต่างๆที่จะต้องมีการคัดเลือกว่าจะรับผู้เรียนประเภทใดหรือไม่รับประเภทใดและถ้ารับเข้ามาแล้วจะจัดแบ่งสาขาวิชาหรือชั้นเรียนอย่างไรดังนั้นผู้สอนหรือสถานศึกษาก็จะสามารถใช้การวัดและการประเมินผลมาเป็นเกณฑ์ในการจัดหรือแบ่งประเภทได้อย่างยุติธรรม
2. การวินิจฉัย (Diagnosis)  คำคำนี้มักจะใช้ในทางการแพทย์โดยเมื่อแพทย์ตรวจคนไข้แล้วแค่จะต้องวินิจฉัยว่าคนไข้เป็นโรคอะไรหรือมีสาเหตุอะไรที่ทำให้ไม่สบายซึ่งจะเป็นการหาสมมติฐานของโรคเพื่อนำไปสู่การรักษาสำหรับในทางการศึกษานั้นการวัดการประเมินผลที่เป็นไปเพื่อการวินิจฉัยว่าผู้เรียนคนใดมีความสามารถทางด้านใดและเมื่อสอนไปแล้วในแต่ละวิชามีส่วนใดที่ผู้เรียนเข้าใจชัดเจนถูกต้องหรือไม่เข้าใจเข้าใจยังไม่ถูกต้องพูดสอนจะได้สอนหรือแนะนำทำความเข้าใจใหม่ได้ถูกต้อง
3. การเปรียบเทียบ (Assessment) จุดประสงค์ของการวัดการประเมินผลในข้อนี้เป็นไปเพื่อเปรียบเทียบความเจริญงอกงามพัฒนาการของการเรียนรู้ของผู้เรียนโดยที่ผู้สอนอาจจะสอบวัดความรู้ความสามารถของผู้เรียนไว้ก่อนเมื่อเริ่มเรียนแล้วหลังจากนั้นเมื่อเลิกเรียนไปแล้วระยะหนึ่งหรือไม่เรียนไปจนจบแล้วผู้สอนอาจจะสอบเพื่อวัดประเมินผลอีกครั้งว่าผู้เรียนมีความรู้เพิ่มขึ้นมากน้อยเพียงใดซึ่งการกระทำเช่นนี้เป็นการแสดงถึงความเจริญก้าวหน้าหรือพัฒนาการการเรียนรู้ของผู้เรียนโดยเปรียบเทียบจากผลการสอบก่อนเรียนกับผลการสอบหลังเรียนจากที่เรียนไปแล้ว
การพยากรณ์ (Prediction) เป็นการวัดประเมินผลเพื่อช่วยในการพยากรณ์ทำนายหรือคาดการณ์และแนะนำว่าผู้เรียนนั้นๆควรจะเรียนอย่างไรจึงจะประสบความสำเร็จและสอดคล้องกับความสามารถความถนัดหรือความสนใจของแต่ละบุคคลในทางจิตวิทยาการศึกษานั้นเชื่อกันว่าคนเราทุกคนมีความแตกต่างกันในหลายๆด้านดำน้ำหากสามารถจัดการศึกษาหรือการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับความถนัดความสนใจหรือความรับรู้ความสามารถของผู้เรียนแต่ละคนได้ก็จะทําให้การศึกษาหรือการเรียนรู้ในเรื่องนั้นๆได้รวดเร็วและประสบความสําเร็จในการเรียนได้เป็นอย่างดี
การป้อนผลย้อนกลับ (Feedback)  เป็นการวัดและการประเมินผลเพื่อนำผลประเมินที่ได้ไม่ใช้ในการปรับปรุงการจัดการเรียนการสอนในครั้งต่อๆ ไป ผลย้อนกลับนี้ มีได้ทั้งส่วนเมื่อการจัดการเรียนการสอนผ่านไปแต่ละบทเรียนหรือเมื่อจบการเรียนการสอนแล้วพูดซ้ำควรมีการวัดและการประเมินผลเพื่อดูว่าเทคนิควิธีการสอนสื่อการเรียนการสอนเนื้อหาหรือกิจกรรมที่จัดให้กับผู้เรียนนั้นเกิดการเรียนรู้ตามจุดประสงค์หรือไม่อย่างไรมีส่วนใดบ้างที่จำเป็นต้องปรับปรุงแก้ไขส่วนใดบ้างที่ดีอยู่แล้วสำหรับในส่วนของผู้เรียนนั้นเมื่อมีการวัดและการประเมินผลแล้วผู้อื่นก็จะได้รับรายงานผลของตนเองทำให้ทราบว่าตนเองนั้นมีความรู้ระดับใดและมีเรื่องใดบ้างที่เรียนรู้แล้วเข้าใจชัดเจนเรื่องใดบ้างที่ยังต้องการศึกษาเพิ่มเติมอีกซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งแก่ผู้เรียนในการศึกษาขั้นสูงๆ ต่อไป
6. การเรียนรู้  (Learning Experience) เป็นการวัดและการประเมินผล ที่มีจุดประสงค์เพื่อเป็นตัวกระตุ้นในรูปแบบต่างๆที่ทำให้เกิดการเรียนรู้ที่ดีแล้วยังทำให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ที่ดีของผู้เรียนด้วยซึ่งจะเป็นกระบวนการที่ก่อให้เกิดการเรียนรู้ที่ดีและมีประสิทธิภาพ
การวัดและการประเมินผลนอกจากจะมีจุดประสงค์ดังกล่าวแล้ว Broom ได้เสนอเกี่ยวกับจุดประสงค์ที่จะทำการวัดและการประเมินผลโดยเน้นที่จุดประสงค์หรือพฤติกรรมที่ต้องการวัดไว้ดังนี้
วัดทางปัญญาหรือพุทธิพิสัย
วัดทางความรู้สึกนึกคิดหรือจิตพิสัย
วัดทางความสามารถในการใช้อวัยวะต่างๆหรือทักษะพิสัย
เครื่องมือและเทคนิควิธีที่ใช้ในการวัดและการประเมินผล
การสังเกตเป็นการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง ของผู้สังเกตสังเกตพฤติกรรมของผู้เรียนในสภาพการณ์ที่เป็นจริงทั้งในนอกห้องเรียนและในห้องเรียน
การสัมภาษณ์เป็นการพูดคุยซักถามกันระหว่างผู้สอนกับผู้เรียนมีการซักถามตอบโต้ซึ่งกันและกัน
การให้ปฏิบัติเป็นการให้ผู้เรียนลงมือปฏิบัติให้ดูว่าสามารถทำได้ตามที่เรียนรู้หรือไม่
การศึกษากรณีเป็นเทคนิคการศึกษาแก้ปัญหาหรือปรากฏการณ์อย่างใดอย่างหนึ่งโดยละเอียดลึกซึ้งเป็นรายๆไป
5. การใช้จินตนาการ เป็นเครื่องมือวัดทางจิตวิทยาที่สร้างขึ้นเพื่อล้วงความรู้สึกนึกคิด ของผู้ถูกวัดออกมายังไม่ให้เจ้าตัวรู้สึกและให้เจ้าตัวเห็นว่าเป็นความรู้สึกหรือปฏิกิริยาของคนอื่นการวัดและการประเมินผลด้วยวิธีนี้มักใช้วัดทางด้านบุคลิกภาพ
การใช้แบบสอบถามเป็นวิธีที่ต้องมีแบบสอบถามเป็นชุดของคำถามที่ถูกจัดเรียงไว้อย่างเป็นระบบระเบียบพร้อมที่จะส่งให้ผู้ต่ออ่านและตอบด้วยตนเองคำถามที่ใช้จะเป็นคำถามที่ใช้ถามข้อเท็จจริงและความคิดเห็นต่างๆเกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง
การทดสอบเป็นการนำข้อของของทางที่สร้างขึ้นไปกระตุ้นให้ผู้เรียนแสดงพฤติกรรมตามที่ต้องการออกมาโดยสามารถสังเกตและวัดได้
แบบทดสอบที่นิยมใช้ในการเรียนการสอน
แบบทดสอบอัตนัยหรือความเรียงเป็นแบบทดสอบที่ให้คำตอบโดยไม่มีขอบเขตของคำตอบที่แน่นอนไว้การตอบใช้การเขียนบรรยายหรือเรียบเรียงคำตอบอย่างอิสระตามความรู้ข้อเท็จจริงตามความคิดเห็นและความสามารถที่มีอยู่โดยไม่มีขอบเขตจำกัดแน่นอนตายตัวที่เด่นชัดนอกจากกำหนดด้วยเวลาการตรวจให้คะแนนไม่มีหลักเกณฑ์ตายตัวส่วนมากมักขึ้นอยู่กับผู้ตรวจสอบเป็นสำคัญ
แบบทดสอบแบบปรนัย แบบทดสอบแบบนี้จะกำหนดคำถามและคำตอบใบให้โดยผู้ตอบจะต้องอ่านด้วยความพินิจพิจารณาแล้วจึงพิจารณาคำตอบแบบทดสอบแบบปรนัยนี้มีลักษณะเด่นที่ผู้ตอบจะต้องใช้เวลาส่วนมากไปในการอ่านและคิดส่วนกันสอบใช้เวลาน้อย การตรวจทำให้ง่ายใช้ไข่ตรวจก็ได้และสามารถใช้เครื่องสมองกลตรวจช่วยได้เพราะผลที่ได้จากการตรวจจะไม่แตกต่างกันเลยแบบทดสอบปรนัยนี้มีทั้งให้ผู้ตอบเขียนคำตอบเองกับเลือกคำตอบที่กำหนดให้
การประเมินผลตามระบบการวัดผล
การประมวลผลแบบผลแบบอิงกลุ่ม เป็นการประมวลผลเพื่อเปรียบเทียบผลงานหรือคะแนนของผู้เรียนแต่ละคนกับผู้เรียนคนอื่นในกลุ่มเดียวกันโดยใช้งานหรือแบบทดสอบชนิดเดียวกันหรือฉบับเดียวกัน
2. การประเมินผลแบบอิงเกณฑ์ เป็นการประมวลผลเพื่อเปรียบเทียบกับเกณฑ์ที่กำหนดขึ้นเพื่อดูบ้างงานหรือการสอบของผู้เรียนผ่านเกณฑ์ที่กำหนดไว้หรือไม่เพียงใดโดยไม่คำนึงถึงอื่นอื่นที่อยู่ในกลุ่มเดียวกัน
การประเมินผลตามสภาพจริงลักษณะของการประเมินผลตามสภาพจริง
ประเมินในสิ่งที่เป็นภาคปฏิบัติจริงหรือกระทำได้จริง
กำหนดเกณฑ์ที่ใช้ในการประเมินไว้ให้ชัดเจน
การประเมินตามสภาพจริงจะต้องทำให้ผู้เรียนได้พัฒนาความสามารถของตนเองได้อย่างเต็มที่
4. การประเมิน ตามสภาพจริง จะช่วยให้ผู้เรียนพัฒนาในการแสดงออก อย่างเต็มที่จะทำให้ผู้เรียนมีความสุขต่อการเรียนรู้
แนวทางในการวัดการประเมินผลตามสภาพจริง
การวัดผลและต้องใช้ในหลายวิธีในการวัด
จะต้องมีการจัดทำแฟ้มสะสมงาน
3. การวัดผลต่างๆที่เกิดขึ้นในระดับชั้นต่างๆในตัวผู้เรียนแต่ละคนและต้องตอบให้ได้ว่าบรรลุเป้าหมายมากน้อยเพียงไร
4. แนวทางในการวัดเน้นกันว่าที่ควบคู่ไปกับการเรียนการสอนหรือการมุ่งปรับปรุงพัฒนาผู้เรียน
เครื่องมือการประเมินผลตามสภาพจริง
การประเมินการแสดงออก
การประเมินกระบวนการและผลผลิต
การประเมินแฟ้มสะสมงาน
วิธีการประเมินผลตามสภาพจริง
การสังเกต
การสัมภาษณ์
การบันทึกจากผู้เกี่ยวข้อง
ทดสอบวัดความสามารถจริง
5. การรายงานตนเอง
6. แฟ้มสะสมงาน
ข้อควรคำนึงในการประเมินผลตามสภาพจริง
เป็นการประเมินที่กระทำไปพร้อมพร้อมจับการจัดการเรียนรู้และการเรียนรู้ของผู้เรียน
2. เป็นการประเมินที่ยึดพฤติกรรมเป็นสำคัญซึ่งแสดงออกมาจริง
3. ให้ความสำคัญในการพัฒนาจุดเด่นของผู้เรียน
4. เน้นการพัฒนาผู้เรียน และการประเมินตนเอง
5.  ตั้งอยู่บนพื้นฐานเหตุการณ์ในชีวิตจริงเพื่อต่อการเชื่อมโยงการเรียนรู้ไปสู่ชีวิตจริง
6.  มีการเก็บข้อมูลระหว่างการปฏิบัติในทุกบริบททางที่โรงเรียนบ้านและชุมชนอย่างต่อเนื่อง
7. เน้นคุณภาพของผลงาน
8. เน้นการวัดความสามารถในการคิดระดับสูงเช่นการวิเคราะห์การสังเคราะห์เป็นต้น
9. ส่งเสริมการปฏิบัติเชิงบวกการชื่นชมส่งเสริมและอำนวยความสะดวกในการเรียนของผู้เรียนให้ผู้เรียนมีความสุขสนุกสนานไม่เครียด
10. สนับสนุนการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการประเมินผลการเรียน

สรุป
การวางแผนการสอนเป็นการเตรียมพร้อมเกี่ยวกับการเรียนการสอนอย่างละเอียด เพื่อจะได้ดำเนินการเรียนการสอนได้ถูกต้อง และตรงตามจุดประสงค์ การวางแผนการสอนเป็นการเลือกและตัดสินใจเพื่อกาทางออกที่ดีที่สุด ทำให้เกิดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องมีการจัดเตรียมเนื้อหา โดยนำเนื้อหามาบูรณาการกัน ทำให้ง่ายต่อการศึกษาทำความเข้าใจ ในการวางแผนการสอนนั้น ผู้สอนหรือผู้วางแผนต้องศึกษารายละเอียดของข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวข้องแล้วนำมาพิจารณาในการวางแผนการสอนซึ่งได้แก่ สภาพปัญหาและทรัพยากร การวิเคราะห์เนื้อหา การวิเคราะห์ผู้เรียน ความคิดรวบยอด วัตถุประสงค์ กิจกรรมการเรียน สื่อการสอน และการประเมินผล การวางแผนการสอน สามารถทำได้ ๒ แนวทางคือ การวางแผนระยะยาว และการวางแผนระยะสั้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น