วันจันทร์ที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2561

กิจกรรมการจัดการเรียนรู้โดยใช้ วิธีการเรียนรู้แบบนำตนเอง (Self-Directed Learning)





รูปแบบการเรียนรู้และวิธีการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง


9.รูปแบบการเรียนรู้และวิธีการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
            รูปแบบการเรียนรู้หลากหลาย เช่น การเรียนรู้แบบสืบสวน การเรียนรู้การใช้เหตุผลเชิงจริยธรรม การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม การเรียนรู้แบบโครงงาน การเรียนรู้แบบกระบวนการทางปัญญา การเรียนรู้โดยใช้แผนการออกแบบประสบการณ์วิธีการจัดการเรียนการสอน ที่หลากหลาย เช่น เกมการศึกษาสถานการณ์จำลอง กรณีตัวอย่าง บทบาทสมมุติ การแก้ปัญหา โปรแกรมสำเร็จรูป ศูนย์การเรียน ชุดการเรียน  คอมพิวเตอร์

วิธีการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

 ·                 การจัดการเรียนรู้แบบบรรยาย (Lecture Method) คือ กระบวนการเรียนรู้ที่ผู้สอนเป็นผู้ถ่ายทอดความรู้ให้แก่ผู้เรียนโดยการพูดบอกเล่า อธิบายเนื้อหาเรื่องราวที่ผู้สอนได้เตรียมการศึกษาค้นคว้ามาเป็นอย่างดี ผู้เรียนเป็นฝ่ายรับฟัง อาจจะมีการจดบันทึกสาระสำคัญในขณะที่ฟังบรรยาย หรืออาจมีโอกาสซักถามแสดงความคิดเห็นได้บ้างถ้าผู้สอนเปิดโอกาส วิธีนี้เหมาะสำหรับผู้ฟังจำนวนมาก และผู้บรรยายซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญในเรื่องนั้นๆ ต้องการนำเสนอเนื้อหาสาระจำนวนมากในลักษณะคมชัดลึก โดยใช้เวลาไม่มากนัก จึงเป็นการเรียนรู้ที่ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย
·                การจัดการเรียนรู้แบบอภิปราย (Discussion Method) คือ กระบวนการที่ผู้สอนมุ่งให้ผู้เรียนมีโอกาสสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นหรือระดมความคิดในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ซึ่งอาจจะเป็นเรื่องหรือปัญหาที่เกี่ยวข้องกับบทเรียนหรือที่กลุ่มมีความสนใจร่วมกัน โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อหาคำตอบ แนวทางหรือแก้ปัญหาร่วมกัน การจัดการเรียนรู้แบบนี้มุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ คือ ร่วมคิด ร่วมวางแผน ร่วมตัดสินใจ ร่วมปฏิบัติงาน และชื่นชมผลงานร่วมกัน
·                การจัดการเรียนรู้โดยใช้การอภิปรายกลุ่มย่อย (Small Group Discussion) คือ กระบวนการเรียนรู้ที่ผู้สอนจัดกลุ่มผู้เรียนออกเป็นกลุ่มย่อยประมาณ 4-8 คน ให้ผู้เรียนในกลุ่มมีโอกาสสนทนาแลกเปลี่ยนข้อมูลความคิดเห็น ประสบการณ์ในประเด็นหรือปัญหาที่กำหนด และสรุปผลการอภิปรายออกมาเป็นข้อสรุปของกลุ่ม
·                การจัดการเรียนรู้แบบสาธิต (Demonstration Method) คือ กระบวนการที่ผู้สอนหรือบุคคลใดบุคคลหนึ่งใช้ในการช่วยให้ผู้เรียนได้เกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ โดยการแสดงหรือกระทำให้ดูเป็นตัวอย่างพร้อมๆ กับการบอก อธิบาย ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ ผู้เรียนจะเกิดการเรียนรู้จากการสังเกตกระบวนการขั้นตอนการสาธิตนั้นๆ แล้วให้ผู้เรียนซักถาม อภิปราย และสรุปการเรียนรู้ที่ได้จากการสาธิต การจัดการเรียนรู้แบบนี้จึงเหมาะสมสำหรับการสอนที่ต้องการให้ผู้เรียนเห็นขั้นตอนของการปฏิบัติ เช่น วิชาพลศึกษา นาฏศิลป์ ศิลปศึกษา เป็นต้น
·                การจัดการเรียนรู้แบบแสดงบทบาทสมมติ (Role Playing) คือ กระบวนการที่ผู้สอนกำหนดหัวข้อเรื่องปัญหาหรือสร้างสถานการณ์ขึ้นมาให้คล้ายกับสภาพความเป็นจริง แล้วให้ผู้เรียนสวมบทบาท หรือแสดงบทบาทนั้นตามความรู้สึกนึกคิดและประสบการณ์ของผู้เรียนที่คิดว่าควรจะเป็น ภายหลังของการแสดงบทบาทสมมติจะต้องมีการอภิปรายเกี่ยวกับการแสดงออกทั้งด้านความรู้และพฤติกรรมของผู้แสดงเพื่อการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์
·                การจัดการเรียนรู้โดยใช้การแสดงละคร (Dramatization) คือ กระบวนการเรียนรู้ที่ผู้สอนให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์โดยการให้ผู้เรียนแสดงละคร ซึ่งเป็นเรื่องราวที่ต้องการให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ตามเนื้อหาและบทละครที่ได้กำหนดไว้ตั้งแต่ต้นจนจบ ซึ่งผู้เรียนจะต้องแสดงบทบาทหรือสมมติว่าตนเองเป็นหรือแสร้งทำเป็นตัวเขาเองหรือบุคคลอื่นหรือตัวละครตัวใดตัวหนึ่ง โดยจะต้องแสดงบทบาทการใช้ภาษา แสดงสีหน้า ท่าทางกับการเคลื่อนไหวประกอบการสนทนาตามบทละครที่แต่งไว้เรียบร้อยแล้ว และผู้แสดงจะไม่นำบุคลิกภาพและความรู้สึกนึกคิดของตนเองเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องซึ่งจะมีส่วนทำให้เกิดผลเสียหายต่อการแสดงบทบาทนั้นๆ วิธีการนี้จะทำให้ผู้เรียนได้มีประสบการณ์ในการที่จะเข้าใจในความรู้สึก เหตุผล และพฤติกรรมของผู้อื่น และจะสามารถจดจำเรื่องราวนั้นได้นาน
·                การจัดการเรียนรู้แบบสถานการณ์จำลอง (Simulation) คือ กระบวนการเรียนรู้ที่ผู้สอนให้ผู้เรียนเข้าไปอยู่ในสถานการณ์ที่สร้างขึ้นมา ซึ่งสถานการณ์นั้นจะมีลักษณะคล้ายคลึงกับสภาพความจริงมากที่สุด ทั้งสภาพแวดล้อมและปฏิสัมพันธ์ โดยมีการกำหนดบทบาท ข้อมูลและกติกาไว้เพื่อให้ผู้เรียนได้ฝึกการคิดแก้ปัญหาและตัดสินใจจากสภาพการณ์ที่เขากำลังเผชิญอยู่ ซึ่งผู้เรียนจะต้องใช้ข้อมูลทั้งหมดที่ได้รับประกอบกับวิจารณญาณของตนเองให้ปฏิบัติหน้าที่ตามสถานการณ์นั้นให้ดีที่สุด ซึ่งการเรียนรู้แบบสร้างสถานการณ์จำลองนี้จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการถ่ายโยงการเรียนได้ดี และสามารถนำไปใช้แก้ปัญหาในชีวิตจริงได้
·                 การจัดการเรียนรู้โดยใช้เกม (Game) คือ กระบวนการเรียนรู้ที่ผู้สอนให้ผู้เรียนเล่นเกมที่มีกฎเกณฑ์กติกา เงื่อนไข หรือข้อตกลงร่วมกันที่ไม่ยุ่งยากซับซ้อน ทำให้เกิดความสนุกสนาน ร่าเริง เป็นการออกกำลังกาย เพื่อพัฒนาความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ มีโอกาสแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์การเรียนรู้ร่วมกับผู้อื่น โดยมีการนำเนื้อหา ข้อมูลของเกม พฤติกรรมการเล่น วิธีการเล่นและผลการเล่นเกมมาใช้ในการอภิปรายเพื่อสรุปผลการเรียนรู้
·                 การจัดการเรียนรู้ที่เน้นกระบวนการ (Process) คือ กระบวนการเรียนรู้ที่เน้นให้ผู้เรียนได้เรียน "วิธีการเรียนรู้" อย่างเป็นขั้นตอน หรือเป็นกระบวนการ โดยให้ผู้เรียนเป็นผู้คิด ผู้ลงมือปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ ผู้สอนเป็นผู้กำกับควบคุมให้ผู้เรียนมีการปฏิบัติ ฝึกฝนจนเกิดทักษะ สามารถปฏิบัติตามขั้นตอนได้ และรับรู้ขั้นตอนทั้งหมดจนสามารถนำไปใช้ได้อย่างอัตโนมัติ และนำไปใช้ได้จริงในสถานการณ์ต่างๆ
·                การจัดการเรียนรู้โดยกระบวนการกลุ่ม (Group Process) คือ กระบวนการเรียนรู้ที่ผู้เรียนได้รับความรู้จากการลงมือร่วมกันปฏิบัติเป็นกลุ่ม กลุ่มจะมีอิทธิพลต่อการเรียนรู้ของสมาชิกแต่ละคน และสมาชิกแต่ละคนในกลุ่มก็มีอิทธิพลและปฏิสัมพันธ์ต่อกันและกัน
·                การจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิค (Team Games Tournament) คือ การเรียนรู้แบบร่วมมืออีกรูปแบบหนึ่งคล้ายกันกับเทคนิค STAD ที่แบ่งผู้เรียนที่มีควาสามารถแตกต่างกันออกเป็นกลุ่มเพื่อทำงานร่วมกัน กลุ่มละประมาณ 4-5 คน โดยกำหนดให้สมาชิกของกลุ่มได้แข่งขันกันในเกมการเรียนที่ผู้สอนจัดเตรียมไว้แล้ว ทำการทดสอบความรู้โดยการใช้เกมการแข่งขัน คะแนนที่ได้จากการแข่งขันของสมาชิกแต่ละคนในลักษณะการแข่งขันตัวต่อตัวกับทีมอื่น นำเอามาบวกเป็นคะแนนรวมของทีมผู้สอนจะต้องใช้เทคนิคการเสริมแรง เช่น ให้รางวัล คำชมเชย เป็นต้น ดังนั้นสมาชิกกลุ่มจะต้องมีการกำหนดเป้าหมายร่วมกันช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เพื่อความสำเร็จของกลุ่ม
·                การจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคจิกซอว์ (Jigsaw) คือ การจัดกระบวนการเรียนรู้ที่ใช้แนวคิดการต่อภาพ โดยแบ่งผู้เรียนเป็นกลุ่ม ทุกกลุ่มจะได้รับมอบหมายให้ทำกิจกรรมเดียวกัน ผู้สอนจะแบ่งเนื้อหาของเรื่องที่จะให้เรียนรู้ออกเป็นหัวข้อย่อยเท่ากับจำนวนสมาชิกแต่ละกลุ่ม และมอบหมายให้ผู้เรียนแต่ละกลุ่มศึกษาค้นคว้าคนละหัวข้อ ซึ่งผู้เรียนแต่ละคนจะเป็นผู้เชี่ยวชาญเฉพาะเรื่องที่ตนได้รับมอบหมายให้ศึกษาจากกลุ่ม สมาชิกต่างกลุ่มที่ได้รับมอบหมายในหัวข้อเดียวกันก็จะทำการศึกษาค้นคว้าร่วมกัน จากนั้นผู้เรียนแต่ละคนจะกลับเข้ากลุ่มเดิมของตนเพื่อทำหน้าที่เป็นผู้เชี่ยวชาญอธิบายความรู้ เนื้อหาสาระที่ตนศึกษาให้เพื่อนร่วมกลุ่มฟัง เพื่อให้เพื่อนสมาชิกทั้งกลุ่มได้รู้เนื้อหาสาระครบทุกหัวข้อย่อยและเกิดการเรียนรู้เนื้อหาสาระทั้งเรื่อง
·                การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ (Integration) คือ การเรียนรู้ที่เชื่อมโยงศาสตร์หรือเนื้อหาสาขาวิชาต่างๆ ที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกันมาผสมผสานเข้าด้วยกัน เพื่อให้เกิดความรู้ที่มีความหมาย มีความหลากหลายและสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้จริงในชีวิตประจำวัน
·                การจัดการเรียนรู้แบบ Storyline (Storyline) คือ การเรียนรู้แบบบูรณาการที่มีการนำเอาสาระการเรียนรู้จากหลายกลุ่มสาระมาเชื่อมโยงกัน เพื่อจัดการเรียนรู้ภายใต้หัวข้อเรื่อง (Theme) เดียวกัน โดยผูกเรื่องเป็นตอนๆ (Episode) เรื่องแต่ละตอนจะต่อเนื่องและมีลำดับเหตุการณ์ (Sequence) หรือเรียกว่า เส้นทางการเดินเรื่อง (Topic line) และใช้คำถามหลัก (Key questions) เป็นตัวนำไปสู่การให้ผู้เรียนทำกิจกรรม (Activity) อย่างหลากหลาย ซึ่งกิจกรรมเหล่านั้นจะส่งเสริมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ตามสภาพจริง ได้ลงมือปฏิบัติจริง เน้นทักษะการคิด การวิเคราะห์ การตัดสินใจ กระบวนการกลุ่มตลอดจนการสร้างความรู้ด้วยตนเอง ดังนั้นการจัดการเรียนรู้แบบ Storyline จึงเป็นการบูรณาการเนื้อหาสาระและทักษะกระบวนการต่างๆ เข้าด้วยกัน
·                การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Cooperative Learning) คือ กระบวนการเรียนรู้ที่จัดให้ผู้เรียนได้ร่วมมือและช่วยเหลือกันในการเรียนรู้ โดยแบ่งกลุ่มผู้เรียนที่มีความสามารถต่างกันออกเป็นกลุ่มเล็กๆ ซึ่งเป็นลักษณะการรวมกลุ่มอย่างมีโครงสร้างที่ชัดเจน มีการทำงานร่วมกัน มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น มีการช่วยเหลือพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน มีความรับผิดชอบร่วมกันทั้งในส่วนตนและส่วนรวมเพื่อให้ตนเองและสมาชิกทุกคนในกลุ่มประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่กำหนดไว้



การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง


8.การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
            การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง หรือการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เป็นการเรียนรู้มุ่งประโยชน์สูงสุดแก่ผู้เรียน สนองความแตกต่างระหว่าง บุคคล ผู้เรียน เกิดการเรียนรู้อย่างแท้จริง เรียนรู้อย่างมีความสุข ได้พัฒนาเต็มตามศักยภาพรอบด้านสมดุล
            หรืออีกนัยหนึ่งว่า การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง หมายถึงการสอนที่มุ่งจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับการดำรงชีวิต เหมาะกับความสามารถและความสนใจของผู้เรียนโดยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมและลงมือปฏิบัติจริงทุกขั้นตอน จนเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง หรืออาจกล่าวอีกนัยหนึ่งได้เช่นกันว่า หมายถึงผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างแท้จริง เรียนอย่างมีความสุข
 แนวคิด 
1.ผู้เรียนต้องรับผิดชอบต่อการเรียนรู้ของตน
2.เนื้อหาวิชามีความสำคัญและมีความหมายต่อการเรียน
3.การเรียนรู้จะประสบผลสำเร็จถ้าผู้เรียนมีส่วนร่วมด้วย
4.สัมพันธภาพที่ดีระหว่างผู้เรียน การมีปฏิสัมพันธ์
5.ครูเป็นมากไปกว่าผู้สอน ครูเป็นทั้งทรัพยากรบุคคล เป็นแหล่งการเรียนรู้ เป็นผู้อำนวยความสะดวก
6.ผู้เรียนมีโอกาสเห็นตนเองในแง่มุมที่แตกต่างจากเดิม
7.การศึกษาเป็นพัฒนาประสบการณ์การเรียนรู้ของผู้เรียนหลายๆด้าน
8.ผู้เรียนได้เรียนรูวิธีการทำงานอย่างเป็นกระบวนการ
9.การนำความรู้ที่ได้ไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้
10.การเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางก่อให้เกิดประชาธิปไตย
11.การเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางสอนให้ผู้เรียนรู้จักวิพากษ์วิจารณ์
12.การเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางทำให้เกิดการนำตนเอง
13.การเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางก่อให้เกิดความคิดสร้างสรรค์
14.การเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางก่อให้เกิดมโนทัศน์ของตน
15.การเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางเป็นการเสาะแสวงหาความสามารถพิเศษของผู้เรียน
16.การเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางเป็นวิธีการที่ดีจะช่วยดึงศักยภาพของผู้เรียน


ความเข้าใจผู้เรียนและการเรียนรู้


7.ความเข้าใจผู้เรียนและการเรียนรู้
            การเรียนรู้เป็นการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่ถาวรเนื่องจากการฝึกปฏิบัติหรือประสบการณ์การเรียนรู้ขึ้นอยู่กับปัจจัยสามประการ คือ ประการแรก ความสามารถของผู้เรียน ประการที่สอง ระดับของแรงจูงใจ และ ประการสุดท้าย ธรรมชาติของภาระงาน
            การเรียนรู้มีกระบวนการดังนี้ คือ
1.แรงจูงใจภายในทำให้ผู้เรียนรับความคิดง่าย
2.เป้าประสงค์ทำให้มีสำคัญได้ถึงความต้องการจำเป็นในสิ่งที่เรียน
3.ผู้เรียนเสาะหาวิธีการที่เหมาะสมในการแก้ปัญหา
4.ผลของความก้าวหน้าจากการเลือกแก้ปัญหาที่ลดความตึงเครียด
5.การขจัดพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม
ขอบเขตของการเรียนรู้สี่ประการ
บลูม และเพื่อนๆเป็นที่รู้จักกันดีในการแบ่งการเรียนรู้ออกเป็นสามประเภท คือ ด้านปัญญา หรือด้านพุทธพิสัย ด้านทักษะพิสัยและด้านจิตพิสัย พุทธพิสัยรวมถึงการเรียนรู้และการเรียนรู้ประยุกต์ใช้ความรู้ ทักษะพิสัยรวมถึงการพัฒนาเสรีทางกายและทักษะที่ต้องการใช้กล้ามเนื้อสมัพันธ์กับประสาทจิตพิสัยเกี่ยวข้องกับการได้มาซึ่งเจตคติ ความซาบซึ้งและค่านิยม การเรียนรู้ทั้งสามประการนี้ควรได้รับการพิจารณาในการวางแผนที่ได้รับจากการเรียนรู้ที่ได้จากการเรียนการสอน ในการที่จะประสบผลสำเร็จตามเป้าประสงค์ของการศึกษาขอบเขตการเรียนรู้ทั้งสามต้องได้รับการบูรณาการเข้าไว้ในทุกลักษณะของการเรียนการสอน

อนุกรมภิธาน เป็นระบบของการแยกแยะบางสิ่งบางอย่าง ดังนั้น อนุกรมภิธานของการศึกษาจึงแยกแยะพฤติกรรมที่นักเรียนสามารถคาดหวังที่จะทำให้ได้ภายหลังจากที่ได้เรียนรู้แล้ว อนุกรมภิธานเป็นที่รู้จักกันมากที่สุด คือ อนุกรมภิธานด้านพุทธพิสัยของบลูมและเพื่อนๆ

องค์ประกอบของการเรียนรู้
องค์ประกอบของการเรียนรู้ประกอบด้วยสิ่งสำคัญห้าประการ คือ ๑. ตัวผู้เรียน ซี่งหมายถึงวุฒิภาวะและความพร้อม อายุ เพศ ประสบการณ์เดิม สมรรถวิสัย ความบกพร่องทางร่างกายบางประการ การจูงใจ สติปัญญา และอารมณ์ ๒. บทเรียน ประกอบด้วย ความยากง่ายของบทเรียน ความมีความหมายของสิ่งที่เรียน ความยาวของบทเรียน ตัวรบกวนการเรียน ๓. วิธีการเรียรู้ประกอบด้วย กิจกรรมของการเรียนการสอน สิ่งจูงใจ คำแนะนำและการแนะแนว การส่งเสริมให้ผู้เรียนใช้ประสาทรับรู้ช่วยการเรียน การสอนรวดเดียวหรือทีละตอน การเสริมแรงทั้งบวกและลบ การท่องจำ การรู้ผล สิ่งกระตุ้นต่างๆ ๔. การถ้ายโยงการเรียนรู้ และ ๕. องค์ประกอบของสิ่งต่างๆทั้งด้านกายภาพและจิตใจ
องค์ประกอบที่ส่งผลต่อกาเรียนรู้
จากการศึกษาของนักจิตวิทยาและนักการศึกษาพบว่า องค์ประกอบที่ส่งผลต่อการเรียนรู้ของมนุษย์คือ องค์ประกอบด้านเชาวน์ปัญญา และองค์ประกอบที่ไม่ใช่สติปัญญา
องค์ประกอบด้านสติปัญญา นักจิตวิทยาและนักการศึกษาได้พยายามศึกษาค้นคว้าเรื่องขององค์ประกอบด้านสติปัญญา และได้นำเสนอสมรรถภาพทางสมองของมนุษย์ไว้หลายทฤษฎี เช่น ทฤษฎีเอกนัย ของบิเนท์ ทฤษฎีสององค์ประกอบ ของสเปียรแมน ทฤษฎีหลายองค์ประกอบ ของ เธอร์สโตน
องค์ประกอบด้านที่ไม่ใช่สติปัญญา เป็นองค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนไม่น้อยกว่าองค์ประกอบด้านสติปัญญา ได้แก่ เจตคติที่มีต่อวิชาเรียน ขนาดของโรงเรียนและการศึกษาของบิดามารดา เพรสคอทท์ ได้สรุปองค์ประกอบที่มีอิทธิพลสัมฤทธิ์ทางการเรียนไว้ห้าประการ 
1. องค์ประกอบทางกาย 
2. องค์ประกอบทางด้านวัฒนธรรม 
3. องค์ประกอบทางด้านความสัมพันธ์ในกลุ่มเพื่อน 
4. องค์ประกอบทางด้านการพัฒนาแห่งตน 
5. องค์ประกอบทั้งห้ามีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน

สุชาติ ได้กำหนดกรอบแนวคิดไว้สามด้าน
1. องค์ประกอบทางด้านคุณลักษณะของผู้เรียน ประกอบด้วย 1. ผลสัมฤทธิ์เดิม หมายถึง ความรู้ 2. เจตคตอต่อผู้เรียน ซึ่งก่อให้เกิดความตั้งใจ 3. แรงจูงใจ
2.  องค์ประกอบด้านการเรียนการสอน ประกอบด้วยพฤติกรรมการเรียนของนักเรียนและพฤติกรรมการสอนของครู
3. องค์ประกอบด้านสิ่งแวดล้อม สภาพแวดล้อมมีความสัมพันธ์เชิงอิทธิพลต่อระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน



การวิจัยการเรียนรู้


6.การวิจัยการเรียนรู้
            การวิจัยการเรียนรู้ผู้ออกแบบการเรียนการสอนแบบเฝ้าดูงานวิจัยที่จะตัดสินใจว่าเงื่อนไขอะไรที่ทำให้มีการเรียนรู้เพิ่มขึ้น ในสถานการณ์ที่คล้ายคลึงกับที่ตนเผชิญอยู่นักวิทยาศาสตร์พฤติกรรมใช้วิธีการในการศึกษาพฤติกรรมด้วยการสังเกตบุคคลในสถานที่ กรณีที่หลากหลาย ด้วยการตั้งคำถามลึกๆ เกี่ยวกับประสบการณ์มีการสำรวจประชากรกลุ่มใหญ่เพื่อที่จะตัดสินใจว่า ประชาชนเหล่านั้นชอบหรือไม่ชอบนักออกแบบสร้างและใช้แบบทดสอบสำหรับความสามารถและคุณลักษณะของคนจำนวนมาก แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดและเป็นการให้ผลต่อการสื่อสารการเรียนรู้ คือ การทดลอง ซึ่งนักวิจัยระมัดระวังและควบคุมการศึกษาสาเหตุและผลที่ได้รับ

แบบมโนทัศน์ของการวิจัยเกี่ยวกับการออกแบบการเรียนการสอน เนื้อหาส่วนใหญ่ของงานวิจัยที่เกี่ยวกับการออกแบบตัวแปรการเรียนการสอนต้องไปกว้างเกินไปโดยปราศจากของการจัดการ ริชชี ได้จัดกลุ่มงานวิจัยกับตัวแปรการเรียนการสอนเป็นสี่กลุ่มใหญ่ คือ ผู้เรียน เนื้อหาวิชา สิ่งแวดล้อม และระบบการสอน การออกแบบการเรียนการสอนขึ้นอยู่กับธรรมชาติของความชี้เฉพาะในแต่ละกลุ่มอย่างหลากหลาย
ข้อมูลป้อนกลับ (Feedback) อีกวิธีการหนึ่งที่จะทำให้การผิดพลาดลดลง คือ การให้ผู้เรียนรับรู้ที่กาตอบสนองนั้นไม่ถูกต้อง การรู้ว่าถูกหรือผิดจะช่วยให้ผู้เรียนแก้ไขการกระทำให้ถูกต้อง


หลักการเรียนรู้


5.หลักการเรียนรู้
            การเรียนการสอนเป็นการทำให้ผู้เรียนมีความตั้งใจต่อภาระงานเป็นการจูงใจผู้เรียนด้วยการอธิบายประโยชน์ของสัมฤทธิ์ผลตามจุดประสงค์ และโยงความสัมพันธ์ของการเรียนรู้ใหม่ๆเข้ากับการเรียนรู้เดิม
            การนำเสนอนี้จะมุ่งไปที่เหตุการณ์ระหว่างที่มีการนำสารสนเทศ ข้อความจริงมโนทัศน์ หลักการ หรือวิธีการไปสู่นักเรียนข้อกำหนดของการเสนอจะมีหลากหลายขึ้นอยู่กับแบบของการเรียนรู้ที่จะประสบผลสำเร็จและระดับพฤติกรรมความพร้อมที่จะรับการสอนของผู้เรียน

การแนะนำบทเรียน
         การแนะนำบทเรียน กิจกรรมเริ่มแรกของกระบวนการสอนการเรียนรู้ คือ ทำให้ผู้ตั้งใจเรียนและเตรียมผู้เรียนไปสู่การฝึกปฏิบัติ ในการแนะนำบทเรียนควรอธิบายจุดประสงค์ของการเรียนการสอน พรรณนาประโยชน์ของการบรรลุผลสำเร็จตามจุดประสงค์และโยงความสัมพันธ์สำหรับสิ่งที่ผู้เรียนรู้ใหม่กับความรู้เดิม

การนำเสนอเนื้อหาใหม่
         การนำเสนอเนื้อหาใหม่เมื่อมีการเรียนรู้ใหม่ บทเรียนควรนำเสนอข้อความจริง มโนทัศน์ และกฎหรือพรรณนาสาธิตทักษะการนำเสนอเนื้อหาใหม่ ๆ ให้จดจำได้ง่ายควรนำเสนออย่างมีลำดับ มีแบบของโครงสร้างจะทำให้มีความหมายต่อผู้เรียนมาก การขจัดสารสนเทศแทรกซ้อนไม่เป็นที่ต้องการและขจัดเนื้อหาที่สับสนและไม่เกี่ยวข้องออกไปก่อผลดีของผู้เรียน

การฝึกปฏิบัติ
         การฝึกปฏิบัติ การเรียนรู้เป็นกระบวนการองการตื่นตัวและมีประสิทธิภาพมากขึ้น เมื่อผู้เรียนได้มีการผลิต มีการปฏิบัติ หรือมีการพยายามใช้มือกับภาระการงานที่ได้เรียนรู้การฝึกปฏิบัติเป็นส่วนผสมที่สำคัญที่สุดของการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ ช่วยเร่งการเรียนรู้ช่วยให้จดจำได้นาน และให้ความสะดวกในการระลึกได้

ทฤษฎีการเรียนการสอน


4.ทฤษฎีการเรียนการสอน
            การเรียนรู้มีความสัมพันธ์กับการออกแบบการเรียนการสอน ซึ่งได้มาจากผลการวิจัยเอกัตบุคคลเรียนรู้อย่างไร คำอธิบายว่าจะตีความให้ดีที่สุดได้อย่างไรกับความเห็นเหล่านี้ ก่อให้เกิดทฤษฎีการเรียนการสอนจำนวนมากซึ่งเกิดขึ้นเมื่อ 30 ปีที่แล้วหรือมากกว่านั้น จากทฤษฎีพฤติกรรมนิยมไปจนถึงทฤษฎีปัญญานิยม เป็นความหวังว่าทฤษฎีเหล่านี้จะช่วยให้เกิดความเข้าใจการเรียนรู้ และประยุกต์วิธีการหรือหลักการใหม่ๆ ที่เป็นประโยชน์กับผู้ออกแบบการเรียนการสอน
            มีทฤษฎีการเรียนการสอนที่น่าสนใจและเป็นประโยชน์มากมาย ซึ่งในที่นี้จะกล่าวถึงเพียงสี่ทฤษฎีซึ่งมีลักษณะแตกต่างกัน คือ

4.1 ทฤษฎีการเรียนการสอนของกาเย่และบริกส์
             กาเย่ (Gagne,1982) มีส่วนช่วยเหลืออย่างสำคัญเกี่ยวกับการเรียนรู้ดังที่เขาได้ตรวจสอบเงื่อนไขสำหรับการเรียนรู้ กาเย่และบริกส์ (Gagne and Briggs, 1979) ได้ขยายเงื่อนไขนี้ออกไปโดยพัฒนาชุดของหลักการสำหรับการออกแบบการเรียนการสอน ทฤษฎีดังกล่าวนี้มีแนวโน้มที่จะเพิกเฉยต่อปัจจัยการเรียนรู้ดั้งเดิม เช่น การเสริมแรง (reinforcement) การต่อเนื่อง (contiguity) และการปฏิบัติ (exercise) เพราะกาเย่และบริกส์คิดว่าเป็นเรื่องธรรมดาเกินไปที่จะใช้ในการออกแบบการเรียนการสอนโดยยืนยันในเรื่องที่เกี่ยวกับการเรียนรู้สารสนเทศทางถ้อยคำ (Verbalinformation) ทักษะเชาวน์ปัญญา (intellectual skill) และความสามารถในการเรียนรู้ประเภทอื่นๆ กาเย่ได้ระบุผลที่รับจากการเรียนรู้แต่ละประเภทที่ต้องการสภาวการณ์หรือเงื่อนไขที่แตกต่างกันสำหรับการเรียนรู้การคงความจำ และการถ่ายโอนการเรียนรู้ในขีดสูงสุด

4.2 ทฤษฎีการเรียนการสอนของเมอร์ริลและไรเกลุท
            ทฤษฎีการเรียนการสอนของเมอร์ริลและไรเกลุท (merril, 1984 : reigeluth, 1979 : 8-15) เกี่ยวข้องกับกลยุทธ์มหภาพ (mecro-strategies) สำหรับการจัดการเรียนการสอน เช่น ความสัมพันธ์ระหว่างหัวข้อของรายวิชา และลำดับขั้นตอนของการเรียนการสอนทฤษฎีนี้เน้นมโนทัศน์ หลักการ ระเบียบวิธีการ และการระลึก (จำได้)สารสนเทศข้อความจริงต่างๆได้โดยทั่วไปแล้ว ทฤษฎีนี้มีทัศนะเกี่ยวกับการเรียนการสอนว่า เป็นกระบวนการของการนำเสนอรายละเอียดอย่างค่อยเป็นค่อยไปทีละเล็กทีละน้อย หรืออย่างประณีตตามทฤษฎีของเมอร์ริลและไรเกลุท
            ขั้นตอนของการเรียนการสอนประกอบด้วย
1.การเลือกปฏิบัติทั้งหมดที่จะสอนโดยการวิเคราะห์ภาระงาน
2.ตัดสินใจว่าจะสอนการปฏิบัติใดเป็นลำดับแรก
3.เรียงลำดับขั้นตอนการปฏิบัติที่ยังค้างอยู่
4.ระบุเนื้อหาที่สนับสนุน
5.กำหนดเนื้อหาทั้งหมดเป็นบทและจัดลำดับบท
6.เรียงลำดับการเรียนการสอนภายในบท  
7.ออกแบบการเรียนการสอนสำหรับแต่ละบท

4.3 ทฤษฎีการเรียนการสอนของเคส
            เคส (Case, 1978 : 167-228) ได้แนะนำว่า ขั้นตอนของพฤติกรรมระหว่างระยะสำคัญของการพัฒนาเชาวน์ปัญญา ขึ้นอยู่กับปรากฏการณ์ให้เห็นถึงการเพิ่มความซับซ้อนของกลยุทธ์ทางปัญญาการใช้กลยุทธ์ที่ซับซ้อนมากขึ้นกับผู้เรียนทำให้เพิ่มประสบการณ์ (รวมถึงการเรียนการสอน) และเพิ่มขนาดของการทำงานในหน่วยความจำอย่างค่อยเป็นค่อยไปด้วย
            ขั้นตอนการออกแบบของเคส เกี่ยวกับการระบุเป้าประสงค์ของพนักงานที่ปฏิบัติ (เรียนรู้) จัดลำดับขั้นปฏิบัติเพื่อช่วยผู้เรียนให้ไปถึงเป้าประสงค์เพื่อเปรียบเทียบการปฏิบัติของผู้เรียน (หรือความคิดที่รายงาน) กับเอกัสบุคคลที่มีทักษะประเมินระดับงานของนักเรียน (โดยตั้งคำถามทางคลินิก) การออกแบบฝึกหัดเพื่อสาธิตให้ผู้เรียนได้ศึกษา (ถ้าจำเป็น) และอธิบายว่าทำไมกลยุทธ์ที่ถูกต้องจึงได้ผลดีกว่า และสุดท้ายนำเสนอตัวอย่างเพิ่มเติมโดยใช้กลยุทธ์ใหม่

4.4 ทฤษฎีการเรียนการสอนของลันดา
            ทฤษฎีการเรียนการสอนของลันดา (Landa, 1974) ป็นการออกแบบจำลองการเรียนการสอนที่แยกออกมา โดยใช้วิธีการพิเศษในการแก้ปัญหาเฉพาะอย่าง (algorithms) โปรแกรมการฝึกอบรมจะมีการพัฒนาวิธีการพิเศษในการแก้ปัญหาเฉพาะอย่างของภาระงาน ซึ่งกำหนดให้ผู้เรียนติดตามระเบียบวิธีที่มีอยู่ในคู่มือการอบรม ในการใช้วิธีการออกแบบของอันดา เป็นความจำเป็นที่ต้องมีการระบุกิจกรรมและการปฏิบัติทั้งหมดที่มีอยู่ค่อนก่อนหน้านั้น ซึ่งผู้เรียนจะต้องแสดงออกมา เพื่อจะได้รวมไว้ในการแก้ปัญหาบางอย่าง

ธรรมชาติของทฤษฎีการเรียนการสอน


3.ธรรมชาติของทฤษฎีการเรียนการสอน
            ทฤษฎีการเรียนการสอน (theory of instruction) เป็นกฎที่เกี่ยวข้องกับวิธีการที่มีประสิทธิภาพที่สุด ของการประสบความสำเร็จในความรู้หรือทักษะ ทฤษฎีการเรียนการสอนเกี่ยวข้องกับความปรารถนาที่จะสอนให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้ดีที่สุดได้อย่างไร ด้วยการปรับปรุง แทนที่จะพรรณนาการเรียนรู้
            ทุกทฤษฎีจะมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน สำหรับทฤษฎีการเรียนการสอนมีลักษณะสำคัญ สี่ประการ คือ
            ประการแรก ทฤษฎีการเรียนการสอนควรชี้เฉพาะประสบการณ์ซึ่งปลูกฝังบ่มเฉพาะบุคคลให้โอนเอียงสู่การเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ หรือเป็นการเรียนรู้ที่สุด หรือเป็นการเรียนรู้ชนิดพิเศษ ตัวอย่างเช่นความสัมพันธ์ชนิดใดที่มีโอกาสต่อโรงเรียนและต่อสิ่งต่างๆ ในสิ่งแวดล้อมของโรงเรียนอนุบาล ซึ่งมีแนวโน้มที่จะทำให้เด็กตั้งใจและสามารถเรียนรู้เมื่อเข้าเรียน
            ประการที่สอง ทฤษฎีการเรียนการสอนต้องชี้เฉพาะวิธีการจัดโครงสร้างองค์ความรู้เพื่อให้เกิดความพร้อมที่สุดสำหรับผู้เรียนที่จะตักตวงความรู้นั้นความดีของโครงสร้างขึ้นอยู่กับพลังในการทำสารสนเทศให้มีความง่ายในการให้ข้อความใหม่ ที่ต้องพิสูจน์และเพื่อเพิ่มการถ่ายเทองค์ความรู้ มีอยู่เสมอที่โครงสร้างต้องสัมพันธ์กับสถานภาพและพรสวรรค์ของผู้เรียนด้วย
            ประการที่สาม ทฤษฎีการเรียนการสอนควรชี้เฉพาะขั้นตอนที่มีประสิทธิภาพที่สุดในการนำเสนอสิ่งที่ผู้เรียนต้องเรียนรู้ ตัวอย่างเช่น ผู้สอนคนหนึ่งปรารถนาที่จะสอนโครงสร้างทฤษฎีฟิสิกส์สมัยใหม่ เขาทำอย่างไร เขานำเสนอสาระที่เป็นรูปธรรมก่อนด้วยวิธีการใช้คำถามเพื่อสืบค้นความจริงเกี่ยวกับกฎเกณฑ์ที่ผู้เรียนต้องนำไปคิดซึ่งทำให้ง่ายเมื่อต้องเผชิญกับการนำเสนอกฎนี้อีกครั้งในภายหลัง
            ประการสุดท้าย ทฤษฎีการเรียนรู้ควรชี้เฉพาะธรรมชาติและช่วงก้าวของการให้รางวัลและการลงโทษในกระบวนการเรียนรู้และการสอน ในขณะที่กระบวนการเรียนรู้มีจุดที่ดีกว่าที่จะเปลี่ยนจากรางวัลภายนอก (extrinsic rewards) เช่นคำยกย่องสรรเสริญจากครู ไปเป็นรางวัลภายใน (intrinsic rewards) โดยธรรมชาติในการแก้ปัญหาที่ซับซ้อนสำหรับตนเอง

ความต้องการทฤษฎีการเรียนการสอน


2.ความต้องการทฤษฎีการเรียนการสอน
            ทฤษฎีการเรียนการสอน เป็นสิ่งจำเป็นที่จะผนวกเข้ากับทฤษฎีการเรียนรู้โดยไม่มีข้อโต้แย้ง การพัฒนาทฤษฎีการเรียนการสอนขาดความเอาใจใส่ ละเลย และเมื่อเปรียบเทียบกับทฤษฎีการเรียนรู้แล้ว ทฤษฎีการสอนเกือบจะไม่ได้รับการกล่าวถึงในผลงานการเขียนทางทฤษฎีของนักจิตวิทยา
            โฮเจท ได้โต้แย้ง คัดค้าน ต่อต้านพัฒนาการของวิทยาศาสตร์การเรียนรู้ โดยโต้แย้งว่าในการประยุกต์ใช้ทฤษฎีการสอนไม่มีความจำเป็นที่จะต้องพิจารณาวิทยาศาสตร์การสอนโดยเห็นว่าไม่สมควรจะให้ความเท่าเทียมกันในความพยายามเกี่ยวกับกิจกรรม กับความพยายามที่จะขจัด ปรากฏการณ์เกี่ยวกับนิสัย และคุณลักษณะทางศิลปะ การวาดภาพ การเรียบเรียง และแม้แต่การเขียนจดหมาย และการสนทนา เป็นเรื่องที่สืบทอดกันมาและถูกกฎหมาย และสามารถเป็นเนื้อหาวิชาที่จะวิเคราะห์ทางทฤษฎีได้ จิตกรแม้จะมีศิลปะอยู่ในงานที่ทำ บ่อยครั้งที่แสดงให้เห็นจากการแสดงออกของผู้เรียนว่าในงานศิลปะของนักเรียนจะมีเรื่องทฤษฎีของสี สัดส่วนที่เห็น ความสมดุลหรือนามธรรมรวมอยู่ด้วย จิตรกรผู้เต็มไปด้วยความเป็นจิตรกรอย่างถูกต้องไม่ได้เป็นโดยอัตโนมัติ ยังคงต้องการขอบเขตที่กว้างขวางสำหรับความฉลาด และความเป็นส่วนบุคคล กระบวนการและผลผลิตของจิตรกรไม่จำเป็นต้องขึ้นอยู่กับผู้รู้หรือผู้คงแก่เรียน
            การสอนก็เช่นเดียวกัน แม้ว่าจะต้องการความเป็นศิลปะ แต่ก็สามารถที่จะ ได้รับการวิเคราะห์เชิงวิทยาศาสตร์ได้ด้วย พลังในการอธิบาย ทำนาย และควบคุม เป็นผลจากการพินิจวิเคราะห์ ไม่ใช่ผลจากเครื่องจักรการสอน
            ทฤษฎีการเรียนรู้เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ว่าผู้เรียนทำอะไร แต่การเปลี่ยนแปลงทางการศึกษาต้องขึ้นอยู่กับว่าส่วนใหญ่แล้วครูทำอะไร นั่นคือ ผู้เรียนเปลี่ยนแปลงอย่างไรในธุรกิจการเรียนรู้ที่เกิดขึ้น ตอบสนองต่อพฤติกรรมของครูหรืออื่นๆ ที่อยู่ในวงของการศึกษา
ทฤษฎีการสอนควรเกี่ยวข้องกับการอธิบาย การทำนาย และการควบคุมทิศทางครูที่ครูปฏิบัติที่ส่งผลต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน ภาพที่เป็นลักษณะนี้ทำให้มีพื้นที่ (Room) มากพอสำหรับทฤษฎีการสอน ดังนั้นทฤษฎีการสอนก็คงเกี่ยงข้องกับขอบเขตทั้งหมดของ ปรากฎการณ์ที่ไม้ได้รับการเอาใจใส่หรือการถูกละเลยจากทฤษฎีการเรียนรู้ด้วย
ความชัดเจนของทฤษฎีการเรียนการสอนควรจะเป็นประโยชน์กับการผลิตครู ในการผลิตครู บ่อยครั้งที่ครูเหมือนว่าจะมีการอ้างทฤษฎีการเรียนรู้ไปสู่การปฏิบัติการสอน การที่เรารู้เกี่ยวกับการเรียนรู้ไม่เป็นการเพียงพอที่จะบอกว่า เราควรจะทำอะไรเกี่ยวกับการสอน สิ่งที่ไม่เพียงพอเหล่านี้ จะเห็นได้ชัดในรายวิชาจิตวิทยาการศึกษา จากตำรา จากคำถามของผู้เรียนว่า “ครูจะสอนอย่างไร” ในขณะที่คำตอบบางส่วนอาจได้มาจากการพิจารณาว่า ผู้เรียนเรียนรู้อย่างไร ซี่งผู้เรียนไม่สามารถรับความรู้ทั้งหมดได้ด้วยวิธีการนี้อย่างเดียว ครูส่วนมากต้องรู้เกี่ยวกับการสอนว่าไม่ได้เป็นไปตามความรู้ในกระบวรการเรียนรู้โดยตรง ความรู้ของครูต้องการความชัดเจนมากไปกว่าการลงความคิดเห็น ชาวนาจำเป็นต้องรู้มากเกินไปกว่าที่จะรู้แต่เพียงว่า ข้าวโพดโตอย่างไร ครูเองก็จำเป็นต้องรู้มากไปกว่าที่ต้องรู้แต่เพียงว่านักเรียนเรียนรู้อย่างไร เช่นกัน
ครูจะต้องรู้ว่าจะจัดการกับพฤติกรรมของตนเองซึ่งมีผลต่อการเรียนรู้ของนักเรียนอย่างไร ความรู้เกี่ยวกับกระบวนการเรียนรู้ไม่ได้เกิดขึ้นอย่างอัตโนมัติ ในการอธิบายและการควบคุมการปฏิบัติการสอนต้องการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการสอนที่ถูกต้องของตนเอง ผู้เรียนจิตวิทยาการศึกษาแสดงความข้องใจว่า ได้เรียนรู้มากเกี่ยวกับความสมบูรณ์ของการสอบแบบสืบสวน ซึ่งรวมอยู่ในทฤษฎีการเรียนการสอนด้วย



สภาวการณ์การเรียนการสอนพื้นฐานของการเรียนการสอนปกติ



1.สภาวการณ์การเรียนการสอนขั้นพื้นฐานของการเรียนการสอนปกติ
            เมื่อมีการเขียน การจัดลำดับจุดประสงค์ และการสร้างแบบทดสอบแล้ว ผู้ออกแบบการเรียนการสอนก็พร้อมที่จะพัฒนากลยุทธ์เพื่อการออกแบบสภาวการณ์ของการเรียนรู้ต่างๆ ที่จะทำให้ประสบความสำเร็จตามจุดประสงค์ ไม่ว่าการเรียนการสอนจะเป็นรูปแบบใด ก็จะมีชุดของสภาวการณ์โดยทั่วๆไปที่ใช้กับทุกเหตุการณ์การเรียนรู้ สภาวการณ์การเรียนการสอนพื้นฐานของการเรียนการสอนปกติ สภาวการณ์เดียวกันนี้จะรวมอยู่ในการเรียนการสอนทุกชนิดไม่ว่าจะเป็นการเรียนด้วยตนเองหรือการเรียนเป็นกลุ่ม และไม่ว่าจะใช้สื่อหรือวิธีการเรียนการสอนใด เช่นการเรียนการสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน ภาพยนตร์ สถานการณ์จำลอง ฯลฯ

บทนำ (Introduction) จะช่วยนำความตั้งใจของผู้เรียนไปส่าระงานการเรียนรู้ จูงใจผู้เรียนด้วยการอธิบายประโยชน์ของการประสบความสำเร็จตามจุดประสงค์และโยงความสัมพันธ์ของการเรียนรู้ใหม่และการเรียนรู้เดิมที่มีมาก่อน
การนำเสนอ (Presentation) เป็นการนำเสนอสารสนเทศ ข้อความจริง มโนทัศน์ หลักการหรือวิธีการให้กับผู้เรียน ข้อกำหนดของการนำเสนอจะหลากหลายไปตามแบบของการเรียนรู้ที่จะให้ประสบความสำเร็จ และขึ้นอยู่กับพฤติกรรมแรกเข้าเรียนหรือพฤติกรรมที่แสดงว่ามีความพร้อมถึงถึงระดับที่จะรับการสอน (Entry – leve behavior)
การทดสอบตามเกณฑ์ (Criterion test) เป็นการวัดความสำเร็จของผู้เรียนตามจุดประสงค์รายทาง (Terminal objectives)
การปฏิบัติตามเกณฑ์ (Criterion practice) เกิดขึ้นในสถานการณ์เช่นเดียวกับการทดสอบปลายภาค (การทดสอบหนสุดท้าย) โดยมีจุดประสงค์เพื่อการตัดสินผู้เรียนว่ามีความพร้อมที่จะสอบปลายภาคหรือมีความจำเป้นต้องเรียนซ่อมเสริม
การปฏิบัติในระหว่างเรียน (Transitional practice) เป็นการออกแบบช่วยผู้เรียนสร้างสะพานข้ามช่องว่างระหว่างพฤติกรรมที่แสดงว่ามีความพร้อมถึงระดับที่จะรับการสอนกับพฤติกรรมที่กำหนดโดยจุดประสงค์ปลายทาง สิ่งสำคัญที่ควรจดจำเกี่ยวกับการปฏิบัติในระหว่างเรียน คือ เป็นการเตรียมตัวผู้เรียนเพื่อการแสดงออกซึ่งการปฏิบัติที่เป็นไปตามเกณฑ์
การแนะนำ (Guidance) เป้นการฝึกที่ฉับพลันที่ช่วยให้ผู้เรียนแสดงออกอย่างถูกต้องในช่วงของการปฏิบัติพบว่าจะมีการช่วยเหลือมากและจะค่อยๆลดลง การช่วยเหลือจะอยู่ในช่วงปฏิบัติในระหว่างเรียนเท่านั้น ส่วนในช่วงของการปฏิบัติตามเกณฑ์ไม่ต้องช่วย
การให้ข้อมูลป้อนกลับ เป็นส่วนหนึ่งของการบูรณาการการปฏิบัติ เพื่อที่จะบอกกลับผู้เรียนว่า ปฏิบัติถูกต้องหรือปฏิบัติไม่ถูกต้อง และจะปรับปรุงการปฏิบัตินั้นอย่างไร การปฏิบัติเพียงอย่างเดียวโดยไม่มีข้อมูลป้อนกลับไม่เป็นการเพียงสำหรับการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ



กลยุทธ์การเรียนการสอน


          กลยุทธ์การเรียนการสอนในการออกแบบการเรียนการสอน ไม่ว่าจะออกแบบตามโมเดลของนักการศึกษาคนใดสิ่งหนึ่งที่จะต้องพิจารณาก็คือ กลยุทธ์การเรียนการสอน (instructional strategies) คำว่า กลยุทธ์เป็นการรวบรวมวิธีการ (methods) วิธีปฏิบัติ (procedures) และเทคนิคอย่างกว้างๆ ซึ่งครูใช้ในการนำเสนอเนื้อหาวิชา ให้กับผู้เรียนและนำไปสู่ผลที่ได้รับที่มีประสิทธิภาพโดยปกติแล้วกลยุทธ์รวมถึงวิธีปฏิบัติ หรือเทคนิคหลายๆอย่าง
            กลยุทธ์การเรียนการสอนทั่วไป คือ การบรรยาย การอภิปรายกลุ่มย่อย การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง การค้นคว้าในห้องสมุด การเรียนการสอนที่ใช้สื่อ (mediated instruction) การทำงานในห้องปฏิบัติการ การฝึกหัด (coaching) การติว (tutoring) วิธีอุปนัยและนิรนัยการใช้บทเรียนสำเร็จรูป การแก้ปัญหา และการตั้งคำถาม อาจเป็นการเพียงพอที่จะกล่าวว่า ครูเป็นการเพียงพอที่จะกล่าวว่า ครูเป็นผู้มีกลยุทธ์การสอนของตนเอง
            เนื้อหาในบทนี้ประกอบด้วยหัวข้อสำคัญ คือ