วันเสาร์ที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2561

บทที่ 6





การเลือกและการพัฒนาสื่อการเรียนการสอน
            คำว่า สื่อ (Medium) ในที่นี้ความหมายกว้างมาก การเรียนการสอนในบางครั้งอาจเกิดขึ้นจากเสียงของผู้สอน ตำรา เทป วีดิทัศน์ ภาพยนตร์ และคอมพิวเตอร์ Medium หรือ Media มาจากภาษาละตินหมายถึง บางสิ่งบางอย่างที่อยู่ตรงกลาง หรือเครื่องมือโดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นวิธีการของการสื่อสารที่ส่งไปถึงประชาชน เป็นพาหนะของการโฆษณา ดังนั้น เมื่อพิจารณาในด้านของการสื่อสารแล้ว สื่อจึงหมายถึง สิ่งที่เป็นพาหนะนำความรู้หรือสารสนเทศจากแหล่งกำเนิดไปสู่ผู้รับ เช่น วิทยุ โทรทัศน์ ภาพยนตร์ รูปภาพ วัสดุฉาย สิ่งพิมพ์และสิ่งดังกล่าวนี้ เมื่อนำมาใช้กับการเรียนการสอน เราเรียกว่าสื่อการเรียนการสอน
            มีอยู่บ่อยครั้งที่ผู้ออกแบบจำกัดการเลือกสื่อของตนเอง เพราะว่าได้ตัดสินใจไปเรียบร้อยแล้ว (เช่น การพิจารณานโยบายงบประมาณ) สิ่งที่จะกล่าวต่อไปนี้ไม่ได้เป็นเพียงสถานการณ์ในอุดมคติเท่านั้น การเลือกสื่อควรจะมีการกระทำหลังการที่ได้มีการวิเคราะห์เนื้อหาวิชาแล้วในสถานการณ์เช่นนี้ ผู้ออกแบบสามารถที่จะเลือกสื่อที่เหมาะสม เพื่อการสื่อสารเหตุการณ์ต่างๆ ในการเรียนการสอน
            กลยุทธ์การสอนและการตัดสินใจเลือกสื่อ เป็นความสัมพันธ์ระหว่างกัน และควรจะทำไปพร้อมกันหลังจากที่ได้มีการพัฒนาจุดประสงค์ของการเรียนการสอนแล้ว แบบจำลองในการเลือกสื่อมีทั้งแบบที่มีความเรียบง่ายและแบบที่มีความซับซ้อน โรเบิร์ต เมเจอร์ ผู้ซึ่งเป็นนักออกแบบการสอน เพื่อการค้าที่ประสบผลสำเร็จ ได้กล่าวว่า กระดาษเป็นตัวกลางอย่างหนึ่งในการเลือก นอกจากว่าในกรณีที่ดีที่จะสามารถเลือกใช้สิ่งที่ทำจากอย่างอื่น วัสดุที่เป็นกระดาษมีราคาแพงในการออกแบบและการผลิต ง่ายที่จะผลิตเพิ่มใช้ง่าย และนักเขียนส่วนใหญ่มีความเข้าใจ สิ่งเหล่านี้เป็นตัวอย่างของสิ่งจำลองง่ายๆ สำหรับการเลือกสื่อ ส่วนแบบจำลองที่ซับซ้อนเป็นวิธีการที่ส่วนใหญ่ควรจะหลีกเลี่ยงเท่าที่จะเป็นไปได้ เมื่อเปรียบเทียบกับหลักเกณฑ์ของทหาร ก็คือ อย่าโง่เลย ทำให้ดูง่ายๆเถอะ
            การนำเสนอสื่อการเรียนการสอน คสรเป็นการกระตุ้นทางการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ ง่ายแก่การเข้าใจ สื่อที่ซับซ้อนมีแนวโน้มของการสิ้นเปลืองเวลาและค่าใช้จ่ายสูง และบ่อยครั้งพิสูจน์ได้ว่ามีประสิทธิภาพและเชื่อถือไม่ได้ ควรใช้สื่อการเรียนการสอนที่ถูกที่สุดที่ทำให้ผู้เรียนบรรลุจุดประสงค์ตามเจตนารมณ์ภายในระยะเวลาที่สมเหตุสมผล อย่างไรก็ตามข้อควรจำคือ การสื่อราคที่ย่อมเยาที่ผลิตไม่ดีทำให้การเรียนการสอนไม่มีประสิทธิภาพเช่นเดียวกับการใช้สื่อ
            การเลือกและการพัฒนาสื่อการเรียนการสอน เป็นเรื่องสำคัญอีกประการหนึ่งในกระบวนการออกแบบการเรียนการสอนอย่างเป็นระบบ นักออกแบบการเรียนการสอนต้องตัดสินใจเกี่ยวกับการเลือกวิธีการ/สื่อ หรือเลือกวิธีการ เลือกวัสดุอุปกรณ์
กระบวนการผลิตสื่อ นักออกแบบอาจะจะทำเพียงการวางแผนมโนทัศน์ สคริปและนานๆครั้งจะผลิตวัสดุสำหรับจำหน่ายความจำกัดสำหรับบทบาทของผู้ออกแบบในการตัดสินใจเกี่ยวกับวิธี/สื่อ จะหลากหลายไปตามสถานการณ์ และแม้ว่าจะมีวิธีการหลากหลายในการจำแนกสื่อออกเป็นประเภท ก็ยังไม่มีอนุกรมภิธานสื่อ ที่พัฒนาขึ้นจนเป็นที่น่าพอใจ ในบทนี้จะเป็นการนำเสนอสื่อ ๓ ประเภท คือ วิธีการ สื่อดั้งเดิม เทคโนโลยีใหม่ภายในแต่ละประเภทจะมีทางเลือกและรูปแบบมาก เช่น กราฟฟิก และฟิล์ม หรือโทรทัศน์เฉพาะกราฟิกก็มีหลายรูปแบบได้แก่ แผนภูมิ การ์ตูน และภาพประกอบ การเลือกวิธี/สื่อ อยู่บนพื้นฐานของเกณฑ์จะมีความเหมาะสมสำหรับผู้เรียน สิ่งที่เรียนและข้อจำกัดคุณลักษณะของผู้เรียน จุดประสงค์ สถานการณ์การเรียนรู้ และข้อจำกัดนั้นต้องระบุขึ้นก่อนที่จะเลือกวิธีการและสื่อ
ผู้ออกแบบการเรียนการสอนต้องตัดสินใจว่าใครจะเป็นผู้ตัดสินสื่อทีม ในการผลิตควรจะประกอบไปด้วยใครบ้าง ผู้ออกแบบต้องริเริ่ม เฝ้าระวังติดตามกระบวนการผลิต เป็นความรับผิดชอบของผู้ออกแบบที่จะต้องมีความแน่ใจในบูรณาภาพของการออกแบบและคุณภาพของวัสดุอุปกรณ์ด้วยการเฝ้าระวังติดตามการผลิต
๑.      บทบาทของผู้ออกแบบ
ผู้ออกแบบมีหน้าที่หลายอย่างที่จะเติมเต็มความสมบูรณ์ในระหว่างนั้นขั้นตอนการตัดสินใจในระยะนี้ผู้ออกแบบมีหน้าที่เป็นผู้ตัดสินใจเลือกวิธีการ/สื่อเช่นเดียวกับตำรวจ ที่มองเห็นว่าคำแนะนำในการออกแบบการเรียนการสอนนำไปใช้ได้หรือเป็นเสมือนผู้จัดการ ผู้ซึ่งริเริ่มและประเมินผลผลิตในบทนี้จะเกี่ยวกับบทบาทของผู้ออกแบบที่มองเห็น การเลือกวิธีการ/สื่อที่มประโยชน์ เราจะเลือกสื่ออย่างไร จะรับวัสดุอุปกรณ์ทางการค้าอย่างไร และจะระวังเฝ้าติดตามกระบวนการผลิตอย่างไร
ผู้ออกแบบต้องจำกัดบทบาทในการทำหน้าที่ ต้องสามารถปฏิบัติได้แล้วเสร็จและมีประสิทธิภาพ ตั้งรับรู้การกระทำหน้าที่ในการผลิตสื่อ ผู้ถ่ายภาพ หรือผู้วางโปรแกรมที่พยายามให้ผู้อื่นเข้าใจได้ โดยลำพังตนเองนั้นไม่สามารถที่จะผลิตสื่อได้ทั้งหมดหรืออาจต้องการคำแนะนำเพิ่มจากผู้ร่วมงานในทีมมากกว่าที่จะทำคนเดียว ความรับผิดชอบที่จะเป็นคือ การตัดสินใจเลือกวิธีการ/สื่อในขณะที่สมาชิกของทีมหรือผู้นำทีมริเริ่มหรือแนะนำกระบวนการผลิต ผู้ออกแบบจะทำสิ่งนี้ได้ดีถ้ารู้จักทำหน้าที่ในลักษณะของผู้วิจัย สิ่งเหล่านี้ไม่ได้หมายความว่า รับรู้หน้าที่ในการให้คำแนะนำและจำกัดทักษะตัวอย่าง เช่น มีการพัฒนาทักษะกระบวนการกลุ่มมากขึ้น และใช้ประโยชน์ได้มากขึ้น
๒.      ประเภทของสื่อ
ผู้ออกแบบสามารถที่จะเลือกชนิดของสื่อให้มีอิทธิพลอย่างลึกซึ้งลิทธิพลต่อประสิทธิผลของการเรียนรู้ที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ถ้าผู้ออกแบบรับรู้ชนิดของสื่อที่มีอยู่ รวมทั้งข้อดีและข้อเสียด้วย ดังนั้น ผู้ออกแบบจะเป็นผู้ที่อยู่ในฐานะเป็นผู้ที่รู้จักเลือกชนิดของสื่อได้อย่างเหมาะสม เราสามารถจำแนกสื่อได้ ๔ ประเภท คือ สื่อทางหู ทางตา ทางหูและตารวมกัน และสัมผัส ผู้ออกแบบสามารถเลือกสื่อที่เหมาะสมที่สุดจากประเภทของสื่อต่างๆ สำหรับภาระงานการเรียนการสอนที่มีความเฉพาะเจาะจง สื่อทั้ง ๔ ประเภทปละตัวอย่างที่เกี่ยวข้อง ดังต่อไปนี้
๑.      สื่อทางหู ได้แก่ เสียงของผู้ฝึก ห้องปฏิบัติการทางเสียง การเตรียมเทปสำหรับผู้ฝึกเทป แผ่นเสียง วิทยุกระจายเสียง
๒.      สื่อทางตา ได้แก่ กระดานชอล์ก กระดานแม่เหล็ก กราฟ คอมพิวเตอร์ วัตถุต่างๆที่เป็นของจริง รูปภาพ แผนภูมิ กราฟภาพถ่าย หุ่นจำลอง หนังสือ หนังสือพิมพ์ สไลด์ แผ่นใส่
๓.      สื่อทางหูและ ทางตา ได้แก่ เทปวีดิโอ ทีวีวงจรปิด โปรแกรมโสตทัศนวัสดุ สไลด์ เทปภาพยนตร์เสียงในฟิล์ม ทีวีทั่วไป เทคโนโลยีอื่นๆ เช่น ดิจิตอล วีดิโอ
๔.      สื่อทางสัมผัส ได้แก่ วัตถุของจริง แบบจำลองในการทำงาน เช่น ผู้แสดงสถานการณ์จำลอง
ข้อดีและข้อเสียของสื่อบางประเภท
          ในการเลือกสื่อที่มีความเหมาะสมที่สุดสำหรับภาระงานการเรียนรู้ที่มีความเฉพาะเจาะจงผู้ออกแบบต้องรู้ถึงความเป็นไปได้ในข้อดีและข้อเสียที่เกี่ยวข้องกับสื่อแต่ละประเภท
การตัดสินใจเกี่ยวกับวิธีการ
          การตัดสินใจเกี่ยวกับวิธีการและสื่อ บางครั้งเกิดขึ้นพร้อมๆกัน ในบางเวลาจะเลือกวิธีการก่อน และเลือกสื่อที่จำเป็นในการใช้ทีหลัง ดูแกน เลียด เปรียบเทียบวิธีการว่าเป็นเหมือนทางหลวง ที่นำไปสู่จุดหมายปลายทาง (จุกประสงค์) และสื่อ (วัสดุ) เป็นสิ่งที่เพิ่มเติมบนทางหลวง เช่น สัญญาณ แผนที่ ซึ่งทำให้การเดินทางสะดวกขึ้น
          วิธีการ เป็นกลยุทธ์การเรียนการสอนที่มีระดับความชี้เฉพาะมาก เป็นวิธีการเรียนการสอนที่ตัดสินธรรมชาติของบทเรียน จอยส์และวีล เรียกสิ่งเหล่านี้ว่าแบบจำลองสอน แบบจำลองเป็นวิธีการสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ในระดับบทเรียนมากกว่าที่จะเป็นระดับหน่วยในหลักสูตร

            ออซูเบล กล่าวว่ามีความแตกต่างระหว่างวิธีการสำคัญ ๒ วิธี คือ การเรียนรู้เพื่อค้นพบ และการเรียนรู้เพื่อรับความคิด ๑. การเรียนรู้เพื่อรับความคิด คือ การเรียนรู้จากการบรรยาย หรือการเรียนรู้จากโสตทัศนูปกรณ์ ซึ่งเสนอสารสนเทศ ๒. การเรียนรู้เพื่อค้นพบคือ การสร้างสถานการณ์ให้ผู้เรียนมีอิสระที่จะสำรวจ และไม่ได้กำหนดจุดหมายปลายทางของการเรียนรู้ไว้ล่วงหน้า การเรียนรู้เพื่อค้นพบมีองค์ประกอบทั้งการค้นพบและการับรู้ที่มากไปกว่า การที่จะบอกแต่เพียงนักเรียนจะต้องเรียนอะไร นักเรียนจะได้รับคำแนะนำซึ่งจะนำไปสู่การค้นพบ ออซูเบลเชื่อว่า วิธีการจะกลายเป็นสิ่งที่มีความหมาย
          ผู้ออกแบบสามารถเลือกวิธีการ เช่น การบรรยาย การใช้ห้องปฏิบัติการ การอภิปราย การอ่าน การทัศนศึกษา การจดบันทึก การสาธิต บทเรียนสำเร็จรูป กรณีศึกษาบทบาทสมมติ การศึกษาด้วยตนเอง และสถานการณ์จำลอง วิธีการแต่ละวิธีการเหล่านี้มีรูปแบบให้เลือกมากมาย การบรรยายอาจจะเป็นบทละคร เป็นการเสนอด้วยโสตทัศนูปกรณ์ การอภิปรายมีหลายรูปแบบ เช่น การสนทนาถกเถียงปัญหา การประชุมโต้เถียงกัน และการระดมพลังสมอง กรณีศึกษามีหลากหลายจารกรณีประวัติศาสตร์จนกระทั่งถึงการแก้ปัญหา และเช่นเดียวกับบทบาทสมมติ เป็นแบบหนึ่งของสถานการณ์จำลอง
          บทเรียนสำเร็จรูปต้องการคำตอบหรือการตอบสนองบ่อยๆ และให้ข้อมูลป้อนกลับอย่างทันทีทันใด และสามารถเสนอผ่านทางหนังสือ แบบฝึกหัด หรือคอมพิวเตอร์ แบบของโปรแกรม อาจจะเป็นเส้นตรง เส้นสาขา หรือบางกรณีเป็นคอมพิวเตอร์ แบบฝึกหัด ปฏิบัติแบบติว และแบบสถานการณ์จำลอง การสาธิตสามารถนำเสนอด้วยปฏิกิริยาสัมพันธ์และการอภิปรายศึกษาด้วยตนเอง
          ๓.   การตัดสินใจเกี่ยวกับสื่อ
สื่อเป็นวิธีการซึ่งมีการนำเสนอสารสนเทศและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ในขณะที่สื่อเป็นคำที่ใช้อ้างอิงถึงแบบของการเรียนการสอน จึงเป็นความจำเป็นที่ต้องมีวัสดุอุปกรณ์ที่ส่งผ่านแบบการเรียนการสอนนั้น ในทางตรรกแล้วเป็นความจำเป็นทั้งส่วนที่เป็นอุปกรณ์ และส่วนที่เป็นวัสดุ สำหรับการเรียนรู้ที่อาศัยคอมพิวเตอร์เป็นฐานเช่นเดียวกับสื่อโทรทัศน์ที่ต้องอาศัยโปรแกรมเป็นฐาน
การตัดสินใจเลือกสื่อสามารถทำได้ก่อน ทำตามหลัง หรือทำไปพร้อมๆกับการตกลงใจเกี่ยวกับวิธีการโดยทั่วไปแล้ว จะทำตามหลังหรือทำไปพร้อมๆกัน การบรรยายอาจจะต้องการองค์ประกอบสื่อ หรืออาจจะอยู่ในรูปแบบของโปรแกรมโทรทัศน์
การตัดสินใจเกี่ยวกับเทคโนโลยีใหม่
เทคโนโลยีใหม่ ประกอบด้วย การเรียนการสอนที่อาศัยคอมพิวเตอร์เป็นพื้นฐานและการเรียนรู้ทางไกล ที่อาศัยเทคโนโลยีการสื่อสารโทรคมนาคมเป็นพื้นฐาน การเรียนรู้ทางไกลเกิดขึ้นเมื่อผู้เรียนอยู่ในสถานที่หนึ่งเทคโนโลยีใหม่มีให้เลือกหลากหลายรูปแบบ
การพิจารณาเลือกสื่อ
มีหลักการทั่วไปจำนวนมาก และข้อพิจารณาอื่นๆ ในการเลือกสื่อที่เหมาะสมสำหรับการเรียนการสอน คือ กฎในการเลือกสื่อและปัจจัยอื่นๆ ที่มีอิทธิพลต่อการเลือกสื่อ
กฎในการเลือกสื่อ
การเลือกสื่อมีกฎอยู่ ๖ ข้อ หรือเรียกว่าหลักการทั่วไปในการพิจารณาก่อนที่จะตัดสินใจอย่างไม่เป็นทางการในการเลือกสื่อ
กฎข้อที่ ๑ การเรียนการสอนโดยทั่วไปแล้วต้องการสื่อสองทาง นักเรียนจะเรียนจะเรียนได้ดีที่สุดเมื่อมีปฏิสัมพันธ์กับวัตถุ/สื่อการเรียนการสอน ครู สมุดทำงาน หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
กฎข้อที่ ๒ สื่อทางเดียว ควรจะได้รับการสนับสนุน โดยสื่อที่ให้ข้อมูลป้อนกลับ ตัวอย่างคือ ภาพยนตร์ หรือวีดิทัศน์ จะให้ประสิทธิผลมากกว่า เมื่อมีคู่มือการใช้ควบคู่ไปด้วย
กฎข้อที่ ๓ กาเรียนรู้ของแต่ละบุคคล ต้องการสื่อที่มีความยืดหยุ่น ตัวอย่างคือ ผู้ที่เรียนเช้าอาจจะต้องการสื่อการเรียนที่แตกแขนงออกไปเป็นพิเศษ เช่นการฝึกเสริม ตัวอย่างเสริมเป็นพิเศษ สื่อภาพยนตร์ ควรจะส่งเสริมโดยการเยียวยาแก้ไขหรือมีกิจกรรมที่เหมาะสมกับความต้องการของแต่ละบุคคล โปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอนสามารถที่จะตอบสนองได้อย่างดีเลิศในความยืดหยุ่นที่มีต่อปัจจัยบุคคล
กฎข้อที่ ๔ การนำเสนอโลกแห่งความเป็นจริง ต้องการสื่อทางทัศนะวัสดุ ตัวอย่างนักเรียนพยาบาลเรียนรู้วิธีการตัดไหม จำเป็นต้องเห็นการสาธิต (ภาพยนตร์ วัดิทัศน์ การสาธิตของจริง) มากกว่าที่จะเขียนออกมาเป็นรายงานของวิธีการตัดไหม
กฎข้อที่ ๕ พฤติกรรมที่คาดหวังหลังจากการเรียนการสอน ควรจะให้มีการฝึกปฏิบัติในระหว่างที่มีการเรียนการสอน การได้ยิน หรือการได้เห็นทักษะที่แสดงออกมาไม่เป็นการเพียงพอ
กฎข้อที่ ๖ เหตุการณ์แต่ละเหตุการณ์ของบทเรียนอื่นๆ อาจต้องการการเลือกสื่อที่มีความแตกต่างกัน ตัวอย่าง ทฤษฎีที่อยู่บนหลักการของวิธีการทำหมัน อาจจะต้องการวัสดุอุปกรณ์ที่เป็นสิ่งพิมพ์ ในขณะที่วิธีการตัดไหม อาจจะต้องการการสาธิตที่มีความเป็นจริงมากกว่าปัจจัยอื่นๆที่มีผลต่อการเลือกสื่อ

แบบจำลองการเลือกสื่อ
แบบจำลองการเลือกสื่อการเรียนการสอนมีหลายรูปแบบ สำหรับการพิจารณาแต่ละแบบจะมีวิธีการเลือกสื่อที่แตกต่างกัน สิ่งที่น่าสังเกตคือ แต่ละแบบมีความแตกต่างกันอย่างไร และพิจารณาว่ามีอะไรเป็นนัยของความต่าง แต่ละแบบจำลองพัฒนาขึ้นเพื่อช่วยในการเลือกและการใช้ประโยชน์จากวัสดุ
แบบจำลองของวิลเลี่ยม ออลเลน ผู้ออกแบบการเรียนการสอนต้องตัดสินใจเกี่ยวกับการจำแนกจุดประสงค์และการจำแนกความสามารถสูงสุดของสื่อการเรียนการสอนที่จะพลิกแพลงให้เข้ากับจุดประสงค์ ออลเลนได้ตรวจสอบประสิทธิผล สื่อสำหรับวัดชนิดของการเรียนรู้ด้วยเหตุผลนี้ ออลแลนได้สร้างตารางแจกแจงสองทาง ซึ่งจำแนกสื่อที่ให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูง ปานกลาง ต่ำ ตามชนิดของการเรียนรู้ เมื่อใช้แบบจำลองนี้ ผู้ออกแบบควรพยายามหลีกเลี่ยงสื่อที่ให้ผลสัมฤทธิ์ต่ำ
แบบจำลองของเยอร์ลาชและอีลี
แบบจำลองของเยอร์ลาชและอีลี ไดเป็นที่รู้จักกันในปี ค.ศ. ๑๙๗๑ ในตำราที่ชื่อว่าการสอนและสื่อ เยอร์ลาชและอีลีได้นำเสนอเกณฑ์ ซึ่งสามารถประยุกตร์ใช้ในการเลือกสื่อการเรียนการสอน หลังจากที่ระบุจุดประสงค์และระบุพฤติกรรมความพร้อมที่จะรับการสอน เกณฑ์ดังกล่าวประกอบด้วย ๑. ความเหมาะสมทางปัญญา ประการทื่ ๒ ระดับของความเข้าใจ ประการที่ ๓ ราคา ประการที่ ๔ ประโยชน์ และประการที่ ๕ คุณภาพทางเทคนิค

สรุป
            สื่อการเรียนการสอนเป็นตัวกลางซึ่งมีความสำคัญในกระบวนการเรียนการสอนมีหน้าที่เป็นตัวนำความต้องการของครูไปสู่ตัวนักเรียนอย่างถูกต้องและรวดเร็ว เป็นผลให้นักเรียนเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไปตามจุดมุ่งหมายของการเรียนการสอนได้อย่างถูกต้องเหมาะสม สื่อการสอนจะช่วยส่งเสริมให้นักเรียนได้ทำกิจกรรมหลายๆรูปแบบ ช่วยให้ครูผู้สอนได้สอนตามจุดมุ่งหมายการเรียนการสอน และยังช่วยในการขยายเนื้อหาที่เรียนทำให้การสอนง่ายขึ้น และยังจะช่วยประหยัดเวลาในการสอน นักเรียนจะได้มีเวลาในการทำกิจกรรมการเรียนมากขึ้น ในการเลือกสื่อการเรียนการสอนเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพต่อการเรียนการสอนนั้น ผู้สอนจำเป็นต้องคำนึงถึงองค์ประกอบในการเลือกสื่อได้แก่ จุดมุ่งหมายของการสอน รูปแบบและระบบของการเรียนการสอน ลักษณะของผู้เรียน เกณฑ์เฉพาะของสื่อ วัสดุอุปกรณ์ตลอดจนสิ่งอำนวยความสะดวกที่มีอยู่ นอกจากนี้ยังต้องคำนึงถึงความสัมพันธ์ระหว่างประเภทของสื่อกับคุณสมบัติเฉพาะและจุดประสงค์ของการเรียนการสอน

วันพุธที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2561

ADDIE Model



หลักการออกแบบของ ADDIE model



หลักการออกแบบของ ADDIE model มีขั้นตอนดังนี้
1. ขั้นการวิเคราะห์  Analysis
2. ขั้นการออกแบบ Design
3. ขั้นการพัฒนา Development
4. ขั้นการนำไปใช้  Implementation
5. ขั้นการประเมินผล   Evaluation

ขั้นตอนการพัฒนา ADDIE model
ขั้นตอนการวิเคราะห์ (Analysis)
ประกอบด้วยรายละเอียดแต่ละส่วน ดังนี้
1.  การกำหนดหัวเรื่องและวัตถุประสงค์ทั่วไป   
2.  การวิเคราะห์ผู้เรียน 
3.  การวิเคราะห์วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม
4.  การวิเคราะห์เนื้อหา  

ขั้นตอนการออกแบบ (Design)
ประกอบด้วยรายละเอียดแต่ละส่วน ดังนี้
1.  การออกแบบ Courseware  (การออกแบบบทเรียน) ซึ่งจะประกอบด้วยส่วนต่างๆ ได้แก่ วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม   เนื้อหา   แบบทดสอบก่อนบทเรียน (Pre-test)  สื่อ  กิจกรรม  วิธีการนำเสนอ  และแบบทดสอบหลังบทเรียน (Post-test)  
2. การออกแบบผังงาน (Flowchart) และการออกแบบบทดำเนินเรื่อง (Storyboard)(ขั้นตอนการเขียนผังงานและสตอรี่บอร์ดของ อลาสซี่)          
3. การออกแบบหน้าจอภาพ (Screen Design) การออกแบบหน้าจอภาพ หมายถึง การจัดพื้นที่ของจอภาพเพื่อใช้ในการนำเสนอเนื้อหา ภาพ และส่วนประกอบอื่นๆ  สิ่งที่ต้องพิจารณามีดังนี้
1.  การกำหนดความละเอียดภาพ (Resolution) 
2.  การจัดพื้นที่แต่ละหน้าจอภาพในการนำเสนอ 
3.  การเลือกรูปแบบและขนาดของตัวอักษรทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
4.  การกำหนดสี ได้แก่  สีของตัวอักษร (Font Color) ,สีของฉากหลัง (Background) ,สีของส่วนอื่นๆ
5.  การกำหนดส่วนอื่นๆ ที่เป็นสิ่งอำนวยความสะดวกในการใช้บทเรียน

ขั้นตอนการพัฒนา (Develop)  (ขั้นตอนการสร้าง/เขียนโปรแกรมและผลิตเอกสารประกอบการเรียน) ประกอบด้วยรายละเอียดแต่ละส่วน ดังนี้
1.  การเตรียมการ  การเตรียมการ เกี่ยวกับองค์ประกอบดังนี้                  
1.1  การเตรียมข้อความ                                  
1.2  การเตรียมภาพ                                 
1.3  การเตรียมเสียง                                 
1.4  การเตรียมโปรแกรมจัดการบทเรียน 
2.  การสร้างบทเรียน หลังจากได้เตรียมข้อความ ภาพ เสียง และส่วนอื่น เรียบร้อยแล้ว  ขั้นต่อไปเป็นการสร้างบทเรียนโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์จัดการ เพื่อเปลี่ยนสตอรี่บอร์ดให้กลายเป็นบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
3. การสร้างเอกสารประกอบการเรียน
หลังจากสร้างบทเรียนเสร็จสิ้นแล้ว ในขั้นต่อไปเป็นการตรวจสอบและทดสอบความสมบูรณ์ขั้นต้นของบทเรียน

ขั้นตอนการนำไปใช้ (Implement)
การนำบทเรียนคอมพิวเตอร์ไปใช้ โดยใช้กับกลุ่มตัวอย่างมาย  เพื่อตรวจสอบความเหมาะสมของบทเรียนในขั้นต้น หลังจากนั้น จึงทำการปรับปรุงแก้ไขก่อนที่จะนำไปใช้กับกลุ่มเป้าหมายจริง เพื่อหาประสิทธิภาพของบทเรียน  และนำไปให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบความเหมาะสมและประสิทธิภาพ

ขั้นตอนการประเมินผล (Evaluate)
การประเมินผล คือ การเปรียบเทียบกับการเรียนการสอนแบบปกติ โดยแบ่งผู้เรียนออกเป็น 2 กลุ่ม เรียนด้วยบทเรียน  ที่สร้างขึ้น 1 กลุ่ม และเรียนด้วยการสอนปกติอีก 1 กลุ่ม  หลังจากนั้นจึงให้ผู้เรียนทั้งสองกลุ่ม ทำแบบทดสอบชุดเดียวกัน และแปลผลคะแนนที่ได้ สรุปเป็นประสิทธิภาพของบทเรียน
ขอขอบคุณที่มาและอ่านเพิ่มเติมได้ที่ : http://www.kroobannok.com/5661